“หมอมนูญ” ชี้ ฉีดวัคซีนผสมสูตร ซิโนแวค+แอสตร้าฯ ไม่มีผลการทดลองทางคลินิกรองรับ

“หมอมนูญ” ชี้ ฉีดวัคซีนผสมสูตร ซิโนแวค+แอสตร้าฯ ไม่มีผลการทดลองทางคลินิกรองรับ

“หมอมนูญ” ชี้ ฉีดวัคซีนผสมสูตร ซิโนแวค+แอสตร้าฯ ไม่มีผลการทดลองทางคลินิกรองรับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“หมอมนูญ” เห็นต่างฉีดวัคซีนผสมสูตร ไม่มีผลการทดลองทางคลินิกรองรับ แนะ ฉีด ชิโนแวค 2 เข็ม กับกลุ่มคนทั่วไป แต่ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ต้องใช้แอสตร้าฯ

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ว่า การบริหารจัดการวัคซีนที่มีในปัจจุบัน วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 61 ล้านโดส ซิโนแวค 19 ล้านโดส และไฟเซอร์ 20 ล้านโดส ที่จะมาในไตรมาสที่ 4 ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ด้วยการแนะนำให้มีการสลับชนิดกัน โดยใช้วัคซีนซิโนแวคเข็มแรก ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้าเข็ม 2 ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ โดยอ้างว่าจะทำให้ภูมิต้านทานสูงขึ้นเร็วภายในเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา เพราะถ้าให้วัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มห่างกัน 12 สัปดาห์ กว่าภูมิต้านทานจะขึ้นสูงต้องใช้เวลา 12 สัปดาห์ ช่วงที่รออาจเป็นช่วงอันตราย

ส่วนตัวผมกลับเห็นตรงข้าม วัคซีนซิโนแวคเป็นวัคซีนเชื้อตาย กลไกการทำงานหลักๆ คือกระตุ้นภูมิต้านทานแอนติบอดี้ให้สูงขึ้น เพื่อจับไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ของเราในชีวิตจริงเรามีข้อมูลวัคซีนซิโนแวคเข็มแรกเข็มเดียวไม่ช่วยลดการป่วยหนักเข้านอนโรงพยาบาล ไม่ลดการเสียชีวิต ช่วงเวลา 4 สัปดาห์แรก หลังฉีดซิโนแวคหากคนสูงอายุและคนที่มีโรคประจำตัวติดเชื้อถือเป็นช่วงอันตราย ต่างจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีน Adenovirus vector ดีกว่าวัคซีนเชื้อตายซิโนแวค นอกจากจะกระตุ้นภูมิต้านทานแอนติบอดี้ให้สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดภูมิคุ้มกันชนิดที่เราเรียกว่าเม็ดเลือดขาว T cell เพื่อกำจัดเซลล์ที่เชื้อไวรัสเข้าไปแบ่งตัวในเซลล์ของเรา มีข้อมูลในชีวิตจริง วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หลังฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์เริ่มมีประสิทธิภาพ สามารถลดการติดเชื้อและการแพร่เชื้อได้บ้าง ลดการติดเชื้อแบบมีอาการได้บ้าง แต่ลดการป่วยหนักเข้านอนโรงพยาบาลและลดการเสียชีวิตได้ดีในประเทศที่มีวัคซีนเพียงพอ เขาแนะนำให้ฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เข็ม 1 กับเข็ม 2 ห่างกัน 8 สัปดาห์ แต่ในประเทศที่มีภาวะวัคซีนขาดแคลน สามารถฉีดห่างกว่านั้นได้หลายเดือนตามคำแนะนำของบริษัทแอลตราเซนเนกาเอง

ประเทศไทยควรให้วัคซีนซิโนแวค 2 เข็มในคนที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง คนอายุน้อยกว่า 60 ปี ไม่มีโรคประจำตัว สำหรับคนสูงอายุและคนที่มีโรคประจำตัว ยังต้องให้วัคซีนเข็มแรกเป็นแอสตร้าเซนเนก้าเหมือนเดิม

ประเทศไทยกำลังดำเนินการฉีดวัคซีนแบบผสม วัคซีนซิโนแวคตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยไม่มีผลการทดลองทางคลินิกรองรับ นอกจากนั้นช่วง 3-4 สัปดาห์แรกหลังฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มแรก ก่อนที่จะฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 2 เป็นช่วงอันตรายสำหรับคนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัวหากติดเชื้อไวรัสโควิด-19

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook