จีน พัฒนาวัคซีนโควิด-19 "ชนิดสูดดม" ผลการทดลองในมนุษย์ระยะแรกปลอดภัยดี

จีน พัฒนาวัคซีนโควิด-19 "ชนิดสูดดม" ผลการทดลองในมนุษย์ระยะแรกปลอดภัยดี

จีน พัฒนาวัคซีนโควิด-19 "ชนิดสูดดม" ผลการทดลองในมนุษย์ระยะแรกปลอดภัยดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปักกิ่ง, 30 ก.ค. (ซินหัว) — วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดสูดดมหรือฉีดพ่นทางจมูก แบบใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา (Adenovirus vector) ที่ผลิตในจีน แสดงผลปลอดภัยในการทดลองทางคลินิก ระยะที่ 1

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบใช้อะดิโนไวรัส ไทป์ 5 เป็นตัวนำพา หรือแอดไฟว์ เอ็นโควี (Ad5-nCoV) ร่วมพัฒนาโดยสถาบันการแพทย์ทหาร โรงพยาบาลจงหนานแห่งมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น และสถาบันอื่นๆ ของจีน

การทดลองในสัตว์ก่อนหน้านี้ชี้ว่าวัคซีนแอดไฟว์ เอ็นโควี โดสเดียว สามารถป้องกันการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่กลายพันธุ์ในทางเดินหายใจส่วนบน โดยภูมิคุ้มกันเยื่อเมือกมีส่วนช่วยกระตุ้นเยื่อเมือกและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสามารถป้องกันเชื้อไวรัสฯ บุกโจมตีผิวเยื่อเมือกได้

รายงานที่เผยแพร่ในวารสารเดอะ แลนเซต อินเฟกเชียส ดีซีสเซส (The Lancet Infectious Diseases) ทางออนไลน์เมื่อเดือนกันยายนปีก่อน ระบุว่ามีอาสาสมัคร 130 คน เข้าร่วมการทดลองโดยสุ่มแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อรับวัคซีนด้วยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วิธีสูดดม หรือทั้งสองวิธี

กลุ่มผู้เข้าร่วมทดลองด้วยวิธีสูดดม จำนวน 2 กลุ่ม ได้รับวัคซีนแอดไฟว์ เอ็นโควี ในปริมาณสูงหรือต่ำในวันแรก ตามด้วยวัคซีนโดสกระตุ้นชนิดเดิมในวันที่ 28 ของการทดลอง ขณะกลุ่มที่รับวัคซีนแบบผสมได้รับวัคซีนชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อในวันแรก ตามด้วยวัคซีนโดสกระตุ้นชนิดสูดดมในวันที่ 28 ของการทดลอง ส่วนกลุ่มที่รับวัคซีนชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้ออย่างเดียวได้รับวัคซีนแอดไฟว์ เอ็นโควี จำนวน 1 หรือ 2 โดสในวันแรก

ผลการทดลองพบว่าวัคซีนชนิดสูดดมนั้นมีความทนทานดี ใช้ปริมาณเพียง 1 ใน 5 ของวัคซีนชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองที่แข็งแกร่ง ด้านวัคซีนโดสกระตุ้นชนิดสูดดมในวันที่ 28 ของการทดลอง หลังรับวัคซีนชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นโดสแรก สามารถกระตุ้นการตอบสนองของแอนติบอดีได้อย่างแข็งแกร่ง

โฮ่วลี่หัว นักวิจัยจากสถาบันฯ กล่าวว่าแอดไฟว์ เอ็นโควี เป็นวัคซีนแบบไม่ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จึงไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงใดๆ อาทิ ปวดแขนและบวม ซึ่งอาจช่วยให้ประชาชนเต็มใจเข้ารับวัคซีนกันมากขึ้น

ขณะเดียวกันปริมาณยาที่ใช้ในวัคซีนชนิดสูดดมอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งเทียบเท่ากับว่าช่วยเพิ่มการผลิตวัคซีนและแก้ปัญหาขยะทางการแพทย์ อาทิ เข็มฉีดวัคซีน

ปัจจุบันวัคซีนแอดไฟว์ เอ็นโควี กำลังอยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิก ระยะที่ 2

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook