สุดยอดนวัตกรรมฝีมือคนไทย

สุดยอดนวัตกรรมฝีมือคนไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ทราบผลกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับ รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย (นวท.) ประจำปี 2552 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ซึ่งจัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 9 ซึ่งได้รับการตอบรับจากเยาวชนส่งผลงานเข้าประกวดเป็นจำนวนมาก

นางสาวกมลพัฒน์ จอมชาญพันธ์ และ นางสาวณัฐวดี จินาพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหา วิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนเจ้าของผลงาน ฟิล์มลดจุดดำบนผิวมะม่วง ซึ่งชนะเลิศในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงที่มาของผลงานชิ้นนี้ว่า เกิดจากแนวคิดที่ต้องการช่วยลดโลกร้อนที่เกิดจากการเผา ฟางข้าว จึงคิดที่จะนำฟางข้าวกลับมาใช้ประโยชน์แทนการเผาทำลาย โดยคิดค้นวิธีแปลงเซลลูโลสในฟางข้าว ให้เป็นคาร์บอกซีเมธิล เซลลูโลส (CMC) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตฟิล์มลดจุดดำ และปรับปรุงจนได้เป็นฟิล์มยับยั้งเชื้อแอนแทรคโนส หรือเชื้อที่ทำให้เกิดจุดดำบนผิวมะม่วง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเน่าเสีย

ฟิล์มดังกล่ยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวปกติของมะม่วงออกไปได้อีก 7 วัน ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างมากต่อการขนส่งไปในสถานที่ไกล ๆ หรือการส่งออกอีกด้วย

สำหรับ เก้าอี้นวดหลังพลังปั่น จากโรงเรียนลำปางกัลยาณี จ.ลำปาง ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศสาขานวัตกรรมกีฬา และออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา นายอนุรุทธ์ ปุริปุณณะ ตัวแทนทีมดังกล่าว บอกว่า ผลงานนี้เกิดจากความคิดที่ต้องการนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างเก้าอี้มาพัฒนาให้มีประโยชน์ นอกจากจะใช้นั่ง ยังมีส่วนช่วยออกกำลังกาย

โดยหลักการทำงานของเก้าอี้นวดพลังปั่น ก็คือ เมื่อเริ่มปั่นจักรยาน จะส่งผลให้เพลาลูกเบี้ยวทำงานไปดีดเอาลูกนวดที่ได้ติดตั้งไว้หลังพนักพิงของเก้าอี้ ซึ่งเมื่อลูกนวดถูกดีดก็จะมากระทบกับพนักพิงตรงกับบริเวณแผ่นหลังนั่นเอง นอกจากนี้ที่นั่งยังทำจากกะลามะพร้าวซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายและสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการนวดได้อีกด้วย

และสุดท้ายรางวัลชนะเลิศสาขา นวัตกรรมกีฬา และออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ในระดับปริญญาตรี คือผลงาน แค่ขยับเท่ากับได้ไฟฟ้า โดยทีม น้อง ๆ ปวส.ปี 1 จากวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต นายปริญญา จิตต์เที่ยง ตัวทีม บอกว่า ผล งานดังกล่าวมาจากแนวคิดซึ่งคำนึง ถึงปัญหาสุขภาพ ร่วมกับวิกฤติ พลังงานในปัจจุบัน จึงคิดค้น และประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถตอบสนองโจทย์ทั้ง 2 ข้อได้ในเวลาเดียวกัน จนเกิดเป็นผลงาน แค่ขยับเท่ากับได้ไฟฟ้า ซึ่งอาศัยหลักการทำงานของแม่เหล็ก และขดลวด โดยเมื่อขยับแผ่นเหล็กด้านบน แท่งแม่เหล็กจะเคลื่อนเข้าไปในขดลวดเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ จากนั้นจึงนำมาแปลงเป็นไฟฟ้าเพื่อใช้ชาร์จถ่านไฟฉาย หรือแบตเตอรี่ เรียกว่าแค่ขยับหรือเคลื่อนไหว นอกจากจะได้สุขภาพที่แข็งแรงแล้ว ยังได้พลังงานสะอาดไว้ใช้งานอีกด้วย

เห็นผลงานของเด็กไทยกันแล้ว น่าดีใจกับเยาวชนไทยที่มีแนวคิดและความสามารถ ซึ่งเชื่อว่าหากได้รับการพัฒนาผลงาน และมีการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนอย่างเต็มที่แล้ว ผลงานที่สร้างสรรค์เหล่านี้ สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์และเป็นที่รู้จักในวงการนวัตกรรมของโลกได้อย่างไม่ยาก.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook