สถานีฆ่าเชื้อแบบเท้าเหยียบ

สถานีฆ่าเชื้อแบบเท้าเหยียบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ไอเดียเจ็งของวิศวะ มข.

จากกรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการรักษาสุขภาพและป้องกันการติดต่อ ทำให้เกิดช่องทางธุรกิจที่เกี่ยวกับการจำหน่ายหน้ากากอนามัย รวมถึงเจลล้าง มือที่ผลิตออกมาแล้วไม่เพียงพอต่อการจำหน่ายในช่วงแรก ซึ่งปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งที่บ้านและสำนักงาน บรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้นั้น ก็มีการออกแบบที่แตกต่างกันไป

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ดร.นวภัค เอื้ออนันต์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ได้ใช้สถานการณ์การเกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา นั่นคือนวัตกรรมสถานีฆ่าเชื้อแบบเท้าเหยียบ

ดร.นวภัค เจ้าของผลงาน เปิดเผยถึง แนวคิดการประดิษฐ์นวัตกรรมชิ้นนี้ว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นั้น ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์เอง ก็ได้ มีการวางสเปรย์ฆ่าเชื้อและ เจลล้างมือ เพื่อทำความสะอาดตามจุดต่าาห้องเรียน หน้าลิฟต์ และในห้องน้ำ ฯลฯ แต่จากการสังเกตพบว่า บุคลากรของคณะฯ ไม่มีใครใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อและเจลล้างมือมากนัก ซึ่งอาจเกิดจากความกลัวที่จะต้องสัมผัสอุปกรณ์ฆ่าเชื้อกับบุคคลอื่น ทำให้ไม่นิยมใช้ ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดว่า ควรจะมีแท่นที่จะช่วยยึดอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ เพื่อไม่ต้องใช้มือกดหรือบีบ แต่เป็นการใช้เท้าเหยียบแทนน่าจะทำให้บุคลากร ใช้กันมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์นวัตกรรมสถานีฆ่าเชื้อแบบเท้าเหยียบขึ้น

ผมได้ประดิษฐ์นวัตกรรมสถานีฆ่าเชื้อแบบเท้าเหยียบ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 เป็นเครื่องต้นแบบ คือ ใช้อุปกรณ์ท่อ PVC เป็นหลัก ลงทุน 200 บาท เหมาะสำหรับใช้งานที่บ้านหรือที่ทำงาน อายุการใช้งานประมาณ 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน แบบที่ 2 เป็นแบบสเตนเลส เหมาะสำหรับสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เช่น โรงแรม สนามบิน เป็นต้น ลงทุน 1,000 บาท ซึ่งจะคงทนถาวรมาก สำหรับจุดเด่นของผลงาน คือ ใช้งานง่ายไม่ต้องใช้ มือกดหรือบีบ และใช้แทนโต๊ะสำหรับวางอุปกรณ์ฆ่าเชื้อได้ ตอนนี้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีทั้งหมด 21 ชิ้น ประดิษฐ์ให้โรงเรียนอธิต จำนวน 1 ชุด และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 1 ชุด

ทั้งนี้อุปกรณ์วัสดุที่ใช้ ก็หาซื้อได้ ง่ายตามร้านขายวัสดุก่อสร้าง ประกอบด้วย 1. ท่อ PVC 4 หุน 2. ท่อ PVC 6 หุน 3. ข้องอ 90 องศา 4. ข้อต่อ PVC 3 ทาง 5. ท่อโค้งสำหรับ PVC 6. กาวเชื่อม

7. แผ่นไม้ 8. กระบอกฉีดน้ำ 9. เหล็กรัดสายยาง 10. นอตตัวผู้ 2 หุน 11. สว่านมือพร้อมดอกสว่าน 12. เส้นเอ็นเบอร์ 13. ที่ต่อสายไฟ และ 14. ที่รองขาโต๊ะ นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาประกอบกัน จะเกิดเป็นชิ้นงานขึ้นมา

ดร.นวภัค บอกอีกว่าผลงานชิ้นนี้อยู่ในขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตร หากหน่วยงานใดสนใจติดต่อสอบถามได้ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ลมหนาวกำลังมา ....เร่งป้องกันไว้ก่อนที่การระบาดระลอก 2 จะมาเยือน!!!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook