สูญเสียอีก! บรูซ แกสตัน ครูเพลงผู้ผสมผสานดนตรีไทย-สากล เสียชีวิตในวัย 74 จากมะเร็งตับ

สูญเสียอีก! บรูซ แกสตัน ครูเพลงผู้ผสมผสานดนตรีไทย-สากล เสียชีวิตในวัย 74 จากมะเร็งตับ

สูญเสียอีก! บรูซ แกสตัน ครูเพลงผู้ผสมผสานดนตรีไทย-สากล เสียชีวิตในวัย 74 จากมะเร็งตับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้นับเป็นวันแห่งความสูญเสียบุคลากรในวงการดนตรีไทยแบบผสมผสานอีกครั้ง บรูซ แกสตัน เสียชีวิตเมื่อเวลา 8.00 น. ของวันนี้ (17 ต.ค.) สิริอายุ 74 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับ โดยจะมีพิธีรดน้ำศพในเวลา 16.00 น. ศาลาเสถียรไทย 32 วัดธาตุทอง

ข้อมูลจากเพจ "วงฟองน้ำ" บอกเล่าเรื่องราวของ อาจารย์บรูซ แกสตัน นักดนตรีอเมริกันผู้ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยยาวนานกว่า 40 ปี เป็นผู้สร้างปรากฏการณ์ดนตรีไทยร่วมสมัยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคมโลก ครูดนตรีผู้สร้างนักดนตรีไทยรุ่นใหม่ขึ้นมาทำประโยชน์ในสังคมไทยมากมาย

บรูซ แกสตัน เกิดที่แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2490 เติบโตมาในครอบครัวที่รักเสียงดนตรี สัมผัสกับความงามอัศจรรย์ของสิ่งที่เรียกว่าดนตรีมาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ สามารถเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกได้หลายเครื่อง โดยเฉพาะเปียโน ออร์แกน และเพลงขับร้องประสานเสียง จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย University of Southern California ในปี พ.ศ. 2512 สาขาวิชาที่ชำนาญคือ ทฤษฎีดนตรี การประพันธ์เพลง และปรัชญาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 22 ปี เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงดนตรีฟองน้ำร่วมกับครูบุญยงค์ เกตุคง ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 โดยนำเสนอดนตรีไทยเดิม มาผสมผสานกับดนตรีแบบตะวันตก โดยยึดเอาแก่นความคิดดนตรีของทั้งสองฟากมาผสมผสานโดยกลวิธีต่างๆ

ผลงานเด่นๆ ของบรูซ แกสตัน ที่ควรกล่าวถึงมีมากมาย ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างงานสำคัญในเชิงสร้างสรรค์บางชิ้น ดังนี้

พ.ศ. 2525

ประพันธ์เพลง “เจ้าพระยาคอนแชร์โต” ร่วมฉลองกรุงเทพมหานครอายุครบ 200 ปี บทเพลงนี้ได้นำเสนอมิติของดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีไทย ดนตรีไฟฟ้า ที่จัดวางเสียง จังหวะ ในพื้นที่และเวลาที่แตกต่างกัน รวมทั้งการประยุกต์พุทธปรัชญาเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์งานซึ่งยังปรากฏต่อเนื่องในผลงานชิ้นอื่นๆ อาทิ มรรคแปด อริยสัจสี่

พ.ศ. 2525

เพลงอาหนู สำหรับ Prepared Piano ระนาดทุ้ม และดนตรีไฟฟ้า แสดงในงานรำลึกจอห์น เคจ ณ มหานครนิวยอร์ค

พ.ศ. 2530

นำวงดนตรีฟองน้ำ ร่วมเทศกาลมหกรรมดนตรีราชสำนัก ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการเดินทางครั้งสำคัญของครูดนตรีอาวุโสของวงการดนตรีไทยไปร่วมกันนำเสนอบทบาทหน้าที่ของดนตรีไทยในระบบบอุปถัมภ์ของราชสำนักซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาดนตรีไทยในรอบหลายร้อยปีที่ผ่านมา

พ.ศ. 2530

ประพันธ์เพลง “Thailand the golden Paradise” เพื่อเฉลิมฉลองปีท่องเที่ยวไทย และถือเป็นเพลงหลักในการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยทั่วโลกนับแต่นั้นมา

พ.ศ. 2552-54

สร้างโอเปรา “A Boy and A Tiger” ทำการสอนดนตรี ประพันธ์เพลง กำกับการแสดง ให้กัลกลุ่มเยาวชนบ้านเกดาร์ ซึ่งเป็นผลงานการทลายกำแพงอคติต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องที่บรูซ แกสตัน ทุ่มเทพลังในการสร้างสรรค์มากที่สุดชิ้นหนึ่ง

ในขณะที่เพจเฟซบุ๊ก "ดาราภาพยนตร์" ก็แจ้งข่าวความสูญเสียนี้เช่นกัน โดยโพสต์ว่า

"เรื่องเศร้าคนบันเทิง ปิดตำนาน #ครูเพลงฝรั่งหัวใจไทย #บรูซแกสตัน ชาวต่างชาติเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัล ศิลปาธรกิตติคุณ สาขาคีตศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2552 หนึ่งในผู้ก่อตั้งวงฟองน้ำ เสียชีวิตอย่างสงบ สิริอายุ 74 ปี

เป็นข่าวช็อกวงการบันเทิงซ้ำสองในรอบวัน เมื่อเฟซบุ๊ก Jirapan Ansvananda ของศิลปินคนดัง จิรพรรณ อังศวานนท์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งและสมาชิกรุ่นแรกของ “บัตเตอร์ฟลาย” วงดนตรีชั้นนำของเมืองไทย โพสต์ข้อความไว้อาลัยต่อการจากไปของ อาจารย์ บรูซ แกสตัน ผู้ให้กำเนินวงดนตรีไทยร่วมสมัยอันลือลั่นอย่าง “ฟองน้ำ” และเป็นบิดาของหนุ่มมือกีตาร์วงฟลัวร์ “เท็ดดี้ ธีรดล ธีโอดอร์ แกสตัน” ว่า “ขอแสดงความเสียใจจากการจากไปของอาจารย์ บรูซ แกสตัน เมื่อประมาณ 1 ชม. ที่แล้ว ขอให้อาจารย์ได้พักผ่อนในศิลในพรของพระเจ้า”

อาจารย์ บรูซ แกสตัน (Bruce Gaston) เป็นนักดนตรีชาวอเมริกัน ที่มาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 22 ปี เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงดนตรีฟองน้ำร่วมกับครูบุญยงค์ เกตุคง ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 โดยนำเสนอดนตรีไทยเดิม มาผสมผสานกับดนตรีแบบตะวันตก โดยยึดเอาแก่นความคิดดนตรีของทั้งสองฟากมาผสมผสานโดยกลวิธีต่างๆ

อาจารย์บรูซ แกสตัน จบการศึกษาด้านทฤษฎีดนตรี การประพันธ์เพลงและปรัชญา และมีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกหลากหลายชนิด หลังจากเข้ามาอาศัยในประเทศไทย ได้ฝึกฝนการเล่นเครื่องดนตรีไทยกับครูบุญยงค์ เกตุคงและร่วมกันตั้งวงดนตรีฟองน้ำในเวลาต่อมา

อาจารย์บรูซ แกสตัน สมรสกับ ผศ.สารภี แกสตัน อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรชายคือ ธีรดล ธีโอดอร์ แกสตัน (เท็ดดี้) มือกีตาร์วงฟลัวร์

อาจารย์บรูซ แกสตัน ได้รับการยกย่องจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม รับรางวัล ศิลปาธรกิตติคุณ สาขาคีตศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยเป็นชาวต่างชาติเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลนี้

มีลูกศิษย์คนสำคัญในวงการดนตรีมากมาย อาทิเช่น ณรงฤทธิ์ ธรรมบุตร ไกวัล กุลวัฒโนทัย อานันท์ นาคคง จิระเดช เสตะพันธุ บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ วาณิช โปตะวณิช ดำริห์ บรรณวิทยกิจ

ช่วงหลัง อาจารย์สุขภาพไม่สู้ดีตามอายุขัย โดยล้มป่วยเนื่องด้วยเกิดอาการทรงตัวไม่ได้ ประสาทรับรู้เชื่องช้าอันมาจากเส้นเลือดฝอยในสมองบวม รวมถึงอาการต่อมลูกหมากอักเสบและอีกหลายโรครุมเร้า และจากไปอย่างสงบเมื่อช่วงสายของวันนี้ (17 ตุลาคม 2564) ขณะมีอายุ 74 ปี"

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ สูญเสียอีก! บรูซ แกสตัน ครูเพลงผู้ผสมผสานดนตรีไทย-สากล เสียชีวิตในวัย 74 จากมะเร็งตับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook