เผยภาพอุทาหรณ์ นักท่องเที่ยวเดินป่า ทากกัดเท้า พยาธิไชเป็นรอยเส้นคดเคี้ยวนูนบวมแดง

เผยภาพอุทาหรณ์ นักท่องเที่ยวเดินป่า ทากกัดเท้า พยาธิไชเป็นรอยเส้นคดเคี้ยวนูนบวมแดง

เผยภาพอุทาหรณ์ นักท่องเที่ยวเดินป่า ทากกัดเท้า พยาธิไชเป็นรอยเส้นคดเคี้ยวนูนบวมแดง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เผยภาพอุทาหรณ์ นักท่องเที่ยวเดินป่า ทากกัดเท้า พยาธิไชเป็นรอยเส้นคดเคี้ยวนูนบวมแดง เตือนคนชอบเดินป่า นอนตามชายหาด เกษตรกร ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ให้ระมัดระวัง

จากกรณีที่ศูนย์วิจัยโรคปรสิตสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี( มทส.) เผยภาพผู้ป่วยรายหนึ่งมีรอยคดเคี้ยวเกิดขึ้นบริเวณหลังเท้า มีลักษณะรอยเป็นเส้นนูนบวมแดง โดยผู้ป่วยมีประวัติว่าโดนทากกัดจากการที่ไปเที่ยวป่าเขาที่ชื้นแฉะ

เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 25 ต.ค.64 ถึงได้เดินทางไปที่ศูนย์วิจัยโรคปรสิตสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มทส. เพื่อสอบถามถึงข้อเท็จจริงจากกรณีดังกล่าว กับ ผศ.ดร.ณัธคพัชฬ รัตนพิทูลย์  นักวิจัย ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มทส. ได้เปิดเผยว่า มีผู้ป่วยรายหนึ่งได้ส่งภาพเพื่อสอบถามอาการและวิธีการรักษาหลังจากถูกทากกัดจากที่ไปเที่ยวป่าเขา (ซึ่งไม่ได้ระบุสถานที่) จากลักษณะรอยนูนบวมแดง เป็นเส้นคดเคี้ยว มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการไชของตัวอ่อนของพยาธิหรือหนอนพยาธิ ที่พบได้บ่อยคือพยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้ายของสัตว์ จำพวกสุนัข แมว เรียกว่า โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง (Cutaneous larva migrans)

ในกรณีที่ถูกถ้ากัดแล้วติดเชื้อพยาธิยังไม่พบบ่อยนัก การติดต่อโดยการไชผ่านผิวหนังของตัวอ่อนพยาธิเวลาสัมผัสกับดิน น้ำ บริเวณที่มีมูลสัตว์ที่มีพยาธิปากขอ รวมถึงผ่านทางแผล พยาธิจะไชผ่านผิวหนัง ยิ่งถ้ามีแผลยิ่งเข้าได้ง่ายขึ้น จะเคลื่อนที่ได้ 2-3 มิลลิเมตร/วัน ทำให้เกิดผื่น เส้นนูน แดง หรือตุ่มน้ำใส รอยคดเคี้ยว ประมาณ 3-20 มิลลิเมตร เกิดหลังจากติดเชื้อ 1-5 วัน ปกติแล้วพยาธิไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในร่างกายในคนเราได้ จะตายไปเอง 1-2 สัปดาห์ แต่ก็พบว่าสามารถคงอยู่ได้นาน 2-14 สัปดาห์ บางรายอาจจะนานเป็นปี

สำหรับการรักษาโดยการให้ยาอัลเบนดาโซล ขนาด 400 มิลลิกรัม/วัน ติดต่อกัน 3 วัน ส่วนการป้องกัน ทำได้ง่ายๆ โดยสวมใส่รองเท้า ถุงมือให้มิดชิดเวลาสัมผัสดินที่ชื้นแฉะ หรือเดินป่าเขาที่ชื้น และหากมีบาดแผลพยาธิชนิดนี้ยิ่งจะสามารถชอนไชเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดและปิดบาดแผลให้มิดชิดเพื่อป้องกัน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับดินหรือตามที่ชื้นแฉะควรสวมถุงมือและหากลุยน้ำก็ควรสวมรองเท้าบูธป้องกันให้พยาธิไชเข้าร่างกาย

กลุ่มผู้ที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุนัขและแมวซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพยาธิชนิดนี้ หากต้องสัมผัสกับมูลสัตว์จะต้องสวมถุงมือเพื่อป้องกัน พร้อมทั้งพาหมาและแมวไปรักษาพยาธิกับสัตวแพทย์เป็นประจำ และกลุ่มที่สำคัญคือเด็กที่ชอบเล่นตามพื้นดิน ไม่ควรให้เด็กเล่นดินที่ชื้นแฉะ ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชอบเที่ยวทะเล ชอบไปเดินหรือนอนตามพื้นทรายก็อาจจะมีพยาธิเข้าร่างกายได้ง่าย โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องระมัดระวังในการสัมผัสน้ำ ควรสวมถุงมือสวมรองเท้าเพื่อป้องกันพยาธิชนิดนี้อีกด้วย

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook