ทำลิฟต์สู่ห้วงอวกาศ

ทำลิฟต์สู่ห้วงอวกาศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากหลายประเทศ ได้มุ่งมั่นสู่โครงการ ลิฟต์อวกาศ มาหลายปีแล้ว ลิฟต์ตัวนี้ไม่ธรรมดาเพราะ มีความสูงจากพื้นโลกประมาณ 35,200 กิโลเมตร โดยเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศด้านบน ซึ่งสามารถทำให้รักษาวงโคจรให้นิ่งกับพื้นโลกได้

คนที่ให้กำเนิดแนวคิดเพื่อสร้าง ลิฟต์อวกาศ นี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ คอนสแตนติน ชิออลคอฟสกี (Konstantin Tsiolkovsky) เมื่อปี ค.ศ. 1895 ซึ่งต่อมา อาร์เซอร์ซี คลาค นักเขียนชาวอังกฤษได้นำไปอธิบายและเขียนเป็นนวนิยายเรื่อง น้ำพุแห่งสวรรค์ หรือ The Fountain of Paradise ในปี ค.ศ. 1979

ถ้าหากทำได้สำเร็จจะทำให้สามารถขนคน ขนของสู่ห้วงอวกาศได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า ปลอดภัยกว่า และถูกกว่าการปล่อยจรวดสู่อวกาศ

ปัญหาที่กำลังประสบอยู่คือการค้น คว้าหาวัสดุที่แข็งแรงที่สุดในโลกและต้องมีน้ำหนักเบามากอย่างเหลือเชื่อเพื่อเป็นวัสดุในการเชื่อมต่อจากโลกสู่ห้วงอวกาศเหมือนการขึงสายกีตาร์

นอกจากนี้ลิฟต์ตัวนี้จะต้องปลอดจากการถูกกระแทกาตหรือขยะอวกาศทั้งหลาย

ดร.โยชิโอะ อาโอกิ ศาสตราจารย์ทางวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนิฮอน ประเทศญี่ปุ่นได้กล่าวว่า วัสดุที่จะใช้ทำเป็นลิฟต์อวกาศนั้นเป็นหลอดจิ๋วคาร์บอน หรือ Carbon nanotube ซึ่งจะต้องมีความแข็งแรงกว่าเหล็กกล้าถึง 180 เท่า และมีความยืดหยุ่นได้ดี

หลอดจิ๋วคาร์บอน บางทีก็เรียกว่า คาร์บอนไฟเบอร์หรือเคฟลาร์ไฟเบอร์ (Kevlar Fiber) ซึ่งก็มีพื้นฐานมาจากพลาสติกที่เขาใช้ทำชิ้นส่วนยานยนต์สำหรับรถแข่ง

ปีนี้มีนักวิทยาศาสตร์เริ่มสร้างแบบจำลอง เพื่อทำตึกระฟ้าคล้าย ลิฟต์อวกาศ ขนาดจิ๋วสูงเพียง 20 กิโลเมตร ซึ่งยังอยู่ในสภาวะภายใต้แรงดึงดูดของโลก แต่อยู่ในชั้นบรรยากาศ สตราโตสเฟียร์ โดยมีโครงสร้างซึ่งทำจากวัสดุเคฟลาร์แล้วอัดด้วยก๊าซขนาดเบาภายในตึก เช่น ไฮโดรเจนหรือฮีเลียม เพื่อให้โครงสร้างอยู่ได้และยืดหยุ่นโดยไม่ต้อง พึ่งสถานีอวกาศ ซึ่งก็เหมือนกับตึกระฟ้าที่กรุงนิวยอร์ก ค่าใช้จ่ายในการสร้างประมาณ 70,000 ล้านบาท เทคโนโลยีนี้ถทำได้ไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า

นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้คือศาสตราจารย์ เบรนแดน ควิน จากมหาวิทยาลัยยอร์ค รัฐโตรอนโต ประเทศแคนาดา และได้ แถมท้ายว่า บนยอดตึกจะเป็นโรงแรม ภัตตาคาร ให้สำหรับผู้คนเข้าไปชมวิวทิวทัศน์ของชั้นบรรยากาศ สตราโตสเฟียร์ ถ้าหากมีนักท่องเที่ยวเข้าชม 1,000 คน ต่อวัน ตั๋วใบละ 35,000 บาท น่าจะทำได้ คำนวณดูแล้ว 2,000 วัน หรือห้าปีครึ่งคืนทุนน่าสนไหม

นักลงทุนไทยท่านใดสนใจก็ลองเชิญติดตามรายละเอียดเองนะครับ ผมไม่สน ผมกลัวความสูง.

รองศาสตราจารน์

ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล

boonmark@rsu.ac.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook