ผอ.สทน. ย้ำ การก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในไทยมีความจำเป็น โดยเฉพาะใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์

ผอ.สทน. ย้ำ การก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในไทยมีความจำเป็น โดยเฉพาะใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ย้ำ การก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในประเทศไทยมีความจำเป็น โดยเฉพาะใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ พร้อมเตรียมเดินหน้าศึกษาการก่อสร้างอย่างจริงจัง ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยภายหลังหารือกับคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถึงความคืบหน้าการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูขนาด 10 เมกะวัตต์ ที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ว่า คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าควรมีการศึกษาและเดินหน้าเรื่องนี้ต่ออย่างจริงจัง เนื่องจากประเทศไทยจำเป็นต้องใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ อย่างเช่น การผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสี ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง รวมถึงจากการที่ได้จ้างให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูขนาด 10 เมกะวัตต์ ที่สถานที่เดิมพบว่า ประเทศไทยควรมีเครื่องนี้ แต่ยังจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งเทคโนโลยีที่จะนำมาจัดตั้งต้องทันสมัย และมีความปลอดภัยสูง ที่สำคัญต้องได้รับการยอมรับจากประชาชน ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าหากจะมีการดำเนินโครงการ คาดว่าต้องใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายตัวเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาด 10 เมกะวัตต์ การสร้างโรงงานผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสี และการสร้างโรงงานจัดการกากกัมมันตรังสี โดยยอมรับว่างบประมาณสูงกว่างบประมาณเดิม ที่ใช้เงินประมาณกว่า 3,000 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทมีการเปลี่ยนแปลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook