รวมพลังนักวิจัยหญิงไทย

รวมพลังนักวิจัยหญิงไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มุ่งมั่นช่วยเหลือประเทศ

ยกระดับความสามารถนักวิทยาศาสตร์สตรีไทย อย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 7 บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศผล 4 นักวิทยาศาสตร์สตรีไทยผู้มีผลงานวิจัยโดดเด่นเกิดประโยชน์ต่อสังคมรับทุนในโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2552 โดย ดร.กัลยา โสภณพนิช รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ให้เกียรติมอบทุนแก่นักวิจัยหญิงในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ดร.นิศรา การุณ อุทัยศิริ และ รศ.ดร.อาทิวรรณ โชติพฤกษ์ และสาขาวัสดุศาสตร์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ และ ผศ.ดร.จูงใจ ปั้นประณต ณ พระ ราชวังพญาไท

ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ รับทุนในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทค โนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอ เทค) จากผลงานวิจัยหัวข้อ การนำเทคโนโลยีไมโครอะเรย์มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยและพัฒนาทางชีวภาพในประเทศไทย กล่าวว่า งานวิจัยเป็นเรื่องที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำไปประยุกต์ เพื่อสร้างผลงานที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยตรง งานวิจัยของตนสามารถนำไปใช้ในการศึกษายีนครั้งละ 1,000 ยีน ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ สัตว์เศรษฐกิจขารถใช้เป็นชุดตรวจเชื้อก่อโรคในอาหารอย่างรวดเร็วและมีราคาถูก

ด้านนักวิจัยหญิงอีก 3 ท่านผู้ได้รับทุนเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ รศ.ดร.อาทิวรรณ โชติพฤกษ์ รับทุนจากผลงานวิจัยหัวข้อ การสกัดสารสำคัญทางชีวภาพจากพืชสมุนไพรไทยโดยใช้เทคโนโลยีของไหลวิกฤติกึ่งวิกฤติและของไหลวิกฤติยวดยิ่ง เผยว่า มุ่งเน้นงานวิจัยด้านการประยุกต์เทคโนโลยีของไหลกึ่งวิกฤติและของไหลวิกฤติยวดยิ่งมาใช้กับกระบวนการสกัดพืชสมุนไพร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ชีวมวลจากการเกษตรทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ โดยมุ่งหวังนำเทคโนโลยี นี้มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับประเทศเกษตรกรอย่างประเทศไทย และสามารถขยายผลสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม

ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รับทุนจากผลงานวิจัยหัวข้อ การพัฒนาฟิล์มพอลิแลคไทด์/ดินเหนียว นาโนคอมโพสิตเพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านบรรจุภัณฑ์อย่างอ่อน เผยว่า การเรียนสายวิทยาศาสตร์ทำให้สังคมดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หวังว่าสิ่งที่วิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งที่นำไปใช้ในสังคม เป็นประโยชน์นำไปใช้ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ตนได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก เป็นถุงสำหรับบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค เมื่อเติมดข้าไปทำให้พลาสติกมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น 3 เท่า หากใส่ของเมื่อตกพื้นถุงไม่แตก สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ภายใน 2-3 เดือน หากอยู่ในความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม จากเดิมพลาสติกอยู่ได้ 450 ปีกว่าจะย่อยสลาย

ด้านนักวิจัยรับทุนจากผลงานวิจัยหัวข้อ การ สังเคราะห์อนุภาคขนาดนาโนเมตรสำหรับการประยุกต์ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ผศ.ดร.จูงใจ ปั้นประณต กล่าวว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในอุตสาห กรรมต่าง ๆ มูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาทต่อปี ตนศึกษาวิจัยการสังเคราะห์และวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวเร่ง ปฏิกิริยา เพื่อสามารถออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิ ภาพสูง นำมาประยุกต์สังเคราะห์ด้วยอนุภาพขนาดนาโน ด้วยเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาขึ้นใช้เองภายในประเทศ และช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานและมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตในปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ จากเดิมใช้พลังงานความร้อน 360 องศาลดเหลือเพียง 100 องศา.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook