ตามไปดูญี่ปุ่นปลูกจิตสำนึก

ตามไปดูญี่ปุ่นปลูกจิตสำนึก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อุตสาหกรรมรับผิดชอบสังคม

ระยะหลังภาคธุรกิจต้องปวดหัวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมือง หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งร้องศาลปกครองให้ระงับการลงทุน ซึ่งต้องยอมรับว่าหนักหนาสาหัสมาก เพราะกฎระเบียบของบ้านเมืองไม่ชัดเจน ทั้ง ๆ ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน รวมถึงได้กู้เงิน และใส่เม็ดเงินลงทุนไปบ้างแล้ว

ดังนั้นหลายรายเริ่มให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของชีวิตชาวบ้าน เพื่อเป็นทางรอดของบริษัทที่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับชุมชนให้ได้อย่างยั่งยืน เพราะหากชุมชนอยู่ไม่ได้บริษัทก็มีแต่เจ๊งกับเจ๊งเหมือนกัน โดย ชลธร ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมคุณภาพงาน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี มองว่า ปัจจุบันภาคเอกชนให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างมากเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ยอมรับ ทั้งนี้กฎหมายการควบคุมมลพิษจากโรงงานของไทยจะมีความเข้มงวดมากกว่าระดับสากลอย่างมาก ซึ่งน่าภูมิใจที่บริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากก็ยังเข้มงวดและดูแลสิ่งแวดล้อมมากกว่ากฎหมายกำหนดไว้อีก

ส่วนของเอสซีจีนอกจากจะดูแลสิ่งแวด ล้อมช่วยเหลือสังคม พัฒนาชุมชน สร้างรายได้และการศึกษาแก่ชาวบ้านในพื้นที่แล้ว ในแต่ละปีบริษัทได้ปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัย 4,000-5,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยลดมลพิษได้กว่าเครื่องจักรที่ล้าสมัย ขณะเดียวกันยังส่งเสริมให้เกิดพื้นที่อุตสาหกรรมพิเศษเชิงนิเวศ หรืออีโคทาวน์ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

ประกอบด้วย 1. การสร้างเมืองที่มีอุตสาห กรรมดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่เหลือน้อยลง และควบคุมไม่ให้เกิดมลพิษเพิ่ม 2. สร้างพื้นที่อุตสาหกรรมกำจัดของเสียมารีไซเคิลใหม่ ซึ่งจะช่วยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สร้างมลพิษรวมถึงช่วยลดการใช้วัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติ และ 3.สร้างการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงงานกับชุมชน แต่ปัญหาในประเทศไทยคือ ขาดความมั่นใจ เนื่องจากภาพโรงงานบางแห่งในอดีตที่ทำเสีย รวมถึงในปัจจุบันยังมีบางบริษัทของไทยที่หวังกำไรเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะต่างจากประเทศญี่ปุ่นที่สามารถสร้างโรงงานอยู่ร่วมกงจากชุมชนมั่นใจในคำสัญญาของภาคอุตสาหกรรม ทั้ง ๆ ที่กฎหมายดูแลสิ่งแวดล้อมอ่อนกว่าไทยมาก

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้นิคมอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นอยู่ร่วมกับชุมชนได้นั้น นายไซอิชิ ชิโนฮารา เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองอิชิฮารา ในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวอย่างเขตอุตสาหกรรมพิเศษเชิงนิเวศ หรืออีโคทาวน์ อธิบายว่า ญี่ปุ่นนอกจากจะมีกฎหมายของประเทศแล้วยังมีระเบียบของจังหวัดและเมืองต่าง ๆ ในการดูแลมาตรฐานสิ่งแวดล้อม โดยกฎหมายของท้องถิ่นอาจมีความเข้มงวดกว่าของประเทศ และมีการปรับเปลี่ยนกำหนดค่ามาตรฐานทุก ๆ 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น เพราะหาก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้กฎหมายที่บังคับใช้มีความล้าสมัย

ขณะที่ท้องถิ่นมีอำนาจในการปิดโรงงานได้ทันทีหากพบว่าโรงงานมีการปล่อยน้ำเสียหรือมลพิษ ที่เกินมาตรฐานกำหนดไว้ แต่กรณีแบบนี้ไม่ค่อยเห็นกันหรอกที่หน่วยงานรัฐจะสั่งให้ปิดโรงงาน เพราะหากโรงงานใดพบว่าตนเองปล่อยของเสียเกินมาตรฐานกำหนดไว้ก็จะแสดงความรับผิดชอบตนเองทันที ประกอบด้วยการชดเชยความเสียหายทั้งหมด รวมถึงแสดงสปิริตด้วยการปิดโรงงานเองโดยไม่จำเป็นต้องรอขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อตัดสินคดี หรือไม่ต้องรอให้ภาคประชาชนเหวี่ยงแหในการฟ้องร้องดำเนินคดีให้ชะลอการลงทุนทั้งเขตนิคมจนนักลงทุนรายอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องต้องรับความเดือดร้อนตามไปด้วย และที่สำคัญกลุ่มเอ็นจีโอในญี่ปุ่นก็มีบทบาทน้อยเช่นกัน ซึ่งแตกต่างกับเมือง ไทยอย่างมาก

ทั้งนี้ในเขตอุตสาหกรรมเมืองชิบะ จะมีบริษัทใหญ่หลายแห่งอยู่รวมกัน โดยจำนวนนี้มีบริษัท มิตซุย เคมิคอล อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตปิโตร เคมีภัณฑ์รายใหญ่ของญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย ที่สำคัญยังเป็นพันธมิตรรายใหญ่ของเครือเอสซีจี โดยผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมิตซุยฯ รายหนึ่งให้ความเห็นว่า การอยู่ร่วมกับชุมชนนั้นต้องมีการประชุมใหญ่กับ ตัวแทนชุมชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง มีหนังสือเพื่อชี้แจงกับคนในชุมชนและให้ทราบว่าบริษัททำอะไรอยู่ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่ชุมชนในลักษณะการจัดกิจกรรมเพื่อกระชับทุกด้าน เรียกว่าทุกวันนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างมีจิตสำนึกที่ดีต่อการทำธุรกิจ ต่อสิ่ละต่อชีวิตประชาชนของบรรดาภาคอุตสาหกรรม

ขณะที่ นายชัชวาลย์ เศรษฐบุตร กรรมการผู้จัดการบริษัท สยามปูนซิเมนต์ขาว จำกัด ยืนยันว่า ปัจจุบันบริษัทของคนไทยหลายรายมีระบบธรรมาภิบาลที่ดีและดูแลสิ่งแวดล้อม ที่ดีในระดับโลก เพราะต่างให้ความสำคัญในการรักษาชุมชนให้อยู่คู่กับโรงงาน เห็นได้จากการประกาศรับรางวัลเดมิ่งไพรซ์ ด้านการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะใน ปี 52 มีบริษัทสยามปูนซิเมนต์ขาวซึ่งเป็นบริษัท นอกประเทศญี่ปุ่นรายเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ รางวัลประเภทนี้จะพิจารณาบริหาร บุคลากร มีกลยุทธ์ดำเนินงานที่ชัดเจน รวมถึง แก้ปัญหาลูกค้าและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดโดยสมาคมแห่งนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรญี่ปุ่น เหตุผล หลัก ๆ ที่บริษัทได้รับรางวัล เช่น การประเมิน ช่วง 800 วันบริษัทไม่มีอุบัติเหตุทำให้พนักงาน ได้รับบาดเจ็บ ไม่มีปัญหากับชุมชน และดูแล สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

ก่อนหน้านี้บริษัทในเครือเอสซีจีได้รับรางวัลประเภทนี้ในญี่ปุ่นมาแล้ว 6 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง), บริษัทอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ, บริษัทกระดาษไทย, บริษัทเอสซีจีโพลีโอเลฟินส์, บริษัทสยามมิตซุยพีทีเอ, บริษัทอุตสาหกรรมเซรามิคไทย หากรวมรางวัลแล้วเครือเอสซีจียังเป็นบริษัทนอกประเทศญี่ปุ่นรายแรกที่ได้รับรางวัลเดมิ่งไพรซ์มากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทคนไทยก็มีความมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า รวมถึงการขยายตัวของธุรกิจ และสามารถดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้ไม่แพ้บริษัทระดับโลกของชาติอื่น ๆ

แม้ไทยจะออกกฎหมายควบคุมมลพิษให้เข้มงวดที่สุดในโลกแต่คงไม่สัมฤทธิผลแน่ ดังนั้นเป็นหน้าที่ทุกคนที่จะต้องสร้างจิตสำนึกที่ดีเพื่อให้รู้จักความรับผิดชอบ แค่นี้ก็จะทำให้ชุมชน และโรงงานอยู่ควบคู่กันอีกนาน.

มนัส แวววันจิตร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook