จุดอ่อนประกันรายได้เกษตรกร

จุดอ่อนประกันรายได้เกษตรกร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในหัวข้อสัมมนาผลตอบแทนส่วนเกินในเศรษฐกิจไทย : การแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรว่า จากการศึกษาของทีดีอาร์ไอพบว่า ผลจากการดำเนินนโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรของรัฐบาล ทำให้รัฐมีต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 70,000 ล้านบาท และขาดทุนเกือบ 50% ของต้นทุนในการดำเนินนโยบายและยังทำให้มีภาระหนี้สินเพราะรัฐบาลได้ใช้วิธีการกู้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งถือเป็นการดำเนินนโยบายที่ไม่มีความโปร่งใสและวินัยการคลัง

นอกจากนี้ในแต่ละปียังมีผลประโยชน์ หรือผลตอบแทนส่วนเกินจากการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยปีละประมาณ 35,000 ล้านบาท ที่ไม่ได้ตกอยู่ในมือเกษตรกรที่มีปัญหายากจนอย่างแท้จริง แต่กลับไปกระจุกตัวอยู่ในเกษตรกรที่มีฐานะมากกว่าเกษตรกรที่มีฐานะยากจน

อย่างไรก็ตามการใช้นโยบายประกันรายได้ให้กับเกษตรกรถือว่าเดินมาถูกทางแต่ยังมีจุดอ่อนใน 4 ด้านคือมีเกษตรกรไม่เข้าใจจำนวนมากเพราะมีการประชาสัมพันธ์ที่อ่อนมาก มีการเริ่มต้นโครงการที่ช้าเพราะถูกกลุ่มที่เสียประโยชน์คัดค้าน มีพื้นที่จดทะเบียนที่สูงเกินจริงเพราะแยกจดทะเบียนพืชทั้ง 3 ชนิด การกำหนดปริมาณการประกันรายได้ต่อครอบ ครัวและราคาประกันรายได้สูงเกินไปอาจทำให้รัฐต้องใช้เงินจำนวนมากเข้าไปดูแล.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook