รมว.วัฒนธรรม เปิดโครงการ กศน.ตำบล จังหวัดตราด ขยายโอกาสการศึกษาสู่ชุมชนรากหญ้า จี้ ใช้ 4 นโยบายสร้าง

รมว.วัฒนธรรม เปิดโครงการ กศน.ตำบล จังหวัดตราด ขยายโอกาสการศึกษาสู่ชุมชนรากหญ้า จี้ ใช้ 4 นโยบายสร้าง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รมว.วัฒนธรรม เปิดโครงการ กศน.ตำบล จังหวัดตราด ขยายโอกาสการศึกษาสู่ชุมชนรากหญ้า จี้ ใช้ 4 นโยบายสร้างความสำเร็จ ด้าน กศน.ตราด ใช้ กศน.ตำบลผลักตราดสู่เมืองน่าอยู่ (28 พ.ย. 52) ที่ศูนย์ OTOP จ.ตราด นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด เป็นประธานเปิด โครงการ กศน. ตำบล จ.ตราด โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการทำเมืองตราดให้น่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการจัดการศึกษามีความสำคัญในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เมืองตราดเป็นเมืองที่น่าอยู่ได้ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวอบอุ่น มีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยที่จำเป็นต้องมีการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งงานการศึกษานอกระบบ และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย จะเป็นกลไกหนึ่งในการที่จะช่วงในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ได้ กศน.หรือศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนได้ร่วมในการผลักดันการจัดตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในระดับตำบลให้ประชาชน ให้ทุกชุมชนได้เข้าถึงและรับการบริการการศึกษานอกระบบได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น รักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดตราด กล่าวว่า การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จ.ตราด จึงได้จัดทำโครงการปฏิบัติงานของ กศน.ตำบล จะเป็นหน่วยงานหลัก ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความต่อเนื่อง และพัฒนาความรู้ และทักษะในการพัฒนาอาชีพ พัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาสังคมและชุมชน ทั้งนี้ กศน.ตำบล จะช่วยในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ให้ประสบความสำเร็จและสอดคล้องตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นับว่าเป็นงานที่มีการบริหารจัดการเชิงรุก ประชาชนที่พลาดโอกาสทางการศึกษาในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ได้รับการบริการ แต่การจัดการศึกษาเชิงรุกในรูปแบบของ กศน.ตำบล จะทำให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึง และได้รับการบริการการศึกษาได้อย่างแท้จริง จากจำนวนเป้าหมายที่หัวหน้า กศน. ตำบลแต่ละแห่ง ต้องรับผิดชอบมากกว่า 500 คน นับว่าเป็นภาระที่หนัก พอพอกับโรงเรียนในระบบขนาดใหญ่ และขอฝากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคท้องถิ่น รวมถึงภาคประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วม และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการศึกษาของ กศน.ตำบลในทุกแห่งด้วย อย่างไรก็ตามนโยบายการดำเนินงานที่เน้นเป็นพิเศษ 4 ประเด็นคือ การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสิรมประชาธปไตยและความซื่อสัตย์ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งความภาคภูมิใจในความเป็นไทย การจัดการศึกษาเพื่อป้องปรามให้ห่างไกลยาเสพติด และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยเฉพาะการส่งเสริมการอ่าน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติแล้ว/dd >
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook