ไทย-กัมพูชา จากอดีตถึงปัจจุบัน : ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

ไทย-กัมพูชา จากอดีตถึงปัจจุบัน : ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หากไม่นับความขัดแย้งอันเกี่ยวเนื่องกับปราสาทพระวิหารแล้ว ถือว่าประเทศไทยกับกัมพูชานั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนมากมาย เป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้สำนักข่าวแห่งชาติได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับกัมพูชา ดังนั้นในตอนนี้จึงขอหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจบางประเด็นเพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้อ่านทุกท่าน โดยเฉพาะในด้านการค้าชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา การค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากจะมีรูปแบบการค้าตามปกติที่มีการนำเข้าและส่งออกทางเส้นทางการคมนาคมต่าง ๆ แล้ว ประเทศไทยยังมีการทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในรูปของ "การค้าชายแดน อีกด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่ไทยมีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าชายแดน เป็นการค้าในรูปแบบต่าง ๆ ของประชาชนหรือผู้ประกอบการค้าที่มีภูมิลำเนาหรือพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้ทำการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน โดยมีมูลค่าครั้งละไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าจำเป็นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สินค้าอุปโภค สินค้าเกษตร สินค้าที่หาได้จากธรรมชาติ เป็นต้น การค้าชายแดนมีวิธีที่ไม่ยุ่งยาก เน้นความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งมีทั้งการค้าที่ถูกกฎหาย (ผ่านด่านศุลกากร) และที่ผิดกฎหมาย (ลักลอบค้า) ประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชาเป็นระยะทาง 725 กิโลเมตร มีด่านถาวรที่สามารถส่งออกและนำเข้าสินค้าได้จำนวน 6 แห่ง ทำให้การค้าชายแดนมีบทบาทสูง โดยมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการค้าร่วมระหว่างประเทศทั้งสอง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชามีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1) มีลักษณะทั้งในรูปแบบการค้าชายแดนที่แท้จริง คือ เป็นการซื้อขายระหว่างคนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดชายแดน 2) มีรูปแบบคล้ายกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ได้มีการทำการค้าขายเฉพาะกลุ่มผู้ค้าภายในพื้นที่บริเวณจังหวัดชายแดนเท่านั้น แต่ประกอบด้วยผู้ค้าจากส่วนกลาง และที่อื่น ๆ เข้ามาดำเนินการค้าขายผ่านชายแดน มูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ไทย-กัมพูชา นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีแนวโน้มเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้ดุลการค้าในปี 2546 มูลค่า 17,782 ล้านบาท เป็น 23,530 31,128 36,022 และ 37,354 ล้านบาท ในปี 2547 2548 2549 และ 2550 ตามลำดับ และในปี 2552 ปรากฏว่ามีมูลค่าการค้าถึง 7 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากมูลค่าการส่งออกชายแดนของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่ามูลค่าการนำเข้าชายแดนกัมพูชา โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้า สินค้าอุปโภคบริโภค สิ่งทอ เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าของสินค้านำเข้าจากกัมพูชาซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรกรรม เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง สิ่งทอ เศษเหล็ก หนังโค-กระบือ สินค้าประมงและปศุสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากสินค้าของไทยนั้นเป็นที่นิยมและยอมรับของประชาชนชาวกัมพูชาเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา ได้มีหลายฝ่ายแสดงความกังวลต่อการบริโภคสินค้าของชาวกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าจากเวียดนามที่กำลังพยายามตีตลาดในกัมพูชาแข่งกับสินค้าไทย แม้สินค้าไทยจะมีคุณภาพและได้รับความนิยมมากกว่า แต่หากการผลิตและขนถ่ายสินค้าไทยชะงักลง ย่อมส่งผลให้เกิดสินค้าไทยขาดตลาด ในที่สุดชาวกัมพูชาก็จะหันไปบริโภคสินค้าจากประเทศอื่น ๆ โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะเวียดนามที่กลายเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในหลาย ๆ ด้าน ประกอบกับความได้เปรียบของเวียดนามในด้านโลจิสติก หรือ การขนส่ง ที่มีความสะดวกสบาย และเป็นไปได้อย่างมากที่เวียดนามจะใช้ยุทธศาสตร์ในเชิงรุกในตลาดกัมพูชามากขึ้นจากช่องว่างที่ไทยกับกัมพูชามีกรณีความขัดแย้งต่อกัน เมืองคู่แฝด โครงการเมืองคู่แฝด (เมืองคู่มิตร) เป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้เป็นเมืองเชื่อมโยงระหว่างกัน เป็นรากฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว สนับสนุนการย้ายฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมจากไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 ให้กำหนดมาตรการผ่อนปรนสำหรับเมืองที่เป็น Sister City นำร่องในการจัดทำ Contract Farming 3 แห่ง ได้แก่่สอด-เมียวดี (2) ไทย-ลาว : เลย-ไชยบุรี และ (3) ไทย-กัมพูชา : จันทบุรี-พระตะบอง/ไพลิน จากแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS ตามปฏิญญาพุกามที่ผู้นำทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย ได้ลงนามร่วมกัน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ณ เมืองพุกาม เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง โดยเห็นชอบให้เกิดโครงการร่วมกันของทุกประเทศ และโครงการระดับทวิภาคี (Bilateral Project) รวมทั้งโครงการเมืองคู่แฝด (Sister Cities) ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจบรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่มีร่วมกัน คือ 1. เชื่อมโยงธุรกิจบริการ การค้า ธุรกรรมการเงิน (Account Trade) 2. ขนส่ง (Logistics Industry) 3. ตลาดกลางสินค้าเกษตรร่วม 4. เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว 5. เขตประกอบการอุตสาหกรรม เขตการผลิตร่วม เน้นอุตสาหกรรมใช้แรงงาน 6. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน โดยโครงการร่วมกัมพูชา-ไทย กำหนดให้มีเมืองคู่แฝด 9 โครงการ ได้แก่ เสียมเรียบ ศรีสะเกษ โอดดาร์เมียนเจย สุรินทร์ บันเตียเมียนเจย สระแก้ว ไพลิน จันทบุรี เกาะกง ตราด พระวิหาร อุบลราชธานี พระตะบอง จันทบุรี ปราสาท ตราด โอดดาร์เมียนเจย บุรีรัมย์ ไทยกับกัมพูชามีสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมายาวนาน โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ที่ต่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญก็คือต่างมีรากฐานทางวัฒนธรรมเดียวกัน ทำให้มีความคล้ายคลึงกันหลายประการ นอกจากนี้ประชาชนไทยและประชาชนกัมพูชาต่างมีความสนิทใกล้ชิดกันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ความปรองดองระหว่างทั้งสองประเทศจึงน่าจะเป็นสิ่งที่ก่อประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย กรณัฏฐ์ ขวัญคง เรียบเรียง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook