อย.แจงปัญหาขาดแคลนยาสมาธิสั้น

อย.แจงปัญหาขาดแคลนยาสมาธิสั้น

อย.แจงปัญหาขาดแคลนยาสมาธิสั้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหตุ อย.จำกัดนำเข้า หลังวารสารการแพทย์ สหรัฐฯ รายงานผลข้างเคียงมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตฉับพลันในเด็ก

วันนี้(30 พ.ย.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า กรณีที่มีการนำเสนอข่าวปัญหาขาดแคลนยาสมาธิสั้น ที่ใช้รักษาเด็กที่มีอาการซนผิดปกติ ให้มีสมาธิหรือนิ่งมากขึ้น ซึ่งมีการระบุว่าสาเหตุเกิดจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สั่งยาเข้ามาในประเทศจำนวนน้อยว่า ในความเป็นจริงมาจาก อย.ได้ติดตามรายงานจากวารสารทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในสหรัฐฯ เมื่อเดือนมิ.ย. 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่าทางองค์การอาหารและยาสหรัฐ (US FDA) ได้ให้มหาวิทยาลัยโคลัมเบียศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของความชุกจากผลข้างเคียงจากยาที่เกิดขึ้นมากมายกับเด็ก โดยใช้เวลาศึกษานานพอสมควร พบว่า การใช้ยาสมาธิสั้นมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็ก (Sudden Death) และทาง US FDA มีความวิตกกังวลกับเรื่องนี้มาก ถึงขั้นอาจห้ามใช้ยานี้

เลขาธิกา ร อย. กล่าวต่อว่า เพื่อให้การศึกษาเป็นที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทาง US FDA จึงให้มีการศึกษาทบทวนอีกครั้งทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ ซึ่งเดิมจะประกาศผลการศึกษารวมถึงผลสรุปว่าจะห้ามใช้ยานี้หรือไม่ ภายในเดือนธ.ค.นี้ แต่ล่าสุดได้รับรายงานเพิ่มเติมจาก US FDA คาดว่า จะเลื่อนการรายงานออกไป โดยการศึกษาในเด็ก คาดว่าจะทราบผลในเดือนส.ค. 2553 ส่วนในผู้ใหญ่จะทราบผลในเดือน ต.ค. 2553 โดยผลสรุปดังกล่าวจะทำให้ทราบว่าจะประกาศห้ามใช้ยานี้หรือไม่

นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับในส่วนประเทศไทยนั้น ทาง อย. เมื่อทราบข่าวนี้ได้เชิญราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และกรมสุขภาพจิตเพื่อปรึกษาหารือ ซึ่งผู้แทนแพทย์ทุกคนต่างเห็นว่า การใช้ยาดังกล่าวยังสามารถควบคุมการใช้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาได้ แต่ต้องติดตามเฝ้าระวังและควบคุมการใช้ยาสมาธิสั้นอย่างใกล้ชิด โดยเจาะจงจ่ายยาให้แพทย์ที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น จะไม่จำหน่ายยาให้อย่างพร่ำเพรื่อ รวมทั้งให้แพทย์เพิ่มความระมัดระวังการใช้และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของผู้ป่วยที่รับประทานยานี้ รวมทั้งผู้บริโภคเองจะต้องตระหนักและระมัดระวังเช่นกัน นอกจากนี้ อย.จะไม่สั่งยานี้เข้ามาเพิ่มมากจนเกินความเหมาะสมหรือผิดปกติ เพราะนอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคแล้ว ยังป้องกันการสั่งเข้ามาโดยเสียประโยชน์หากมีการประกาศยกเลิกการใช้ในภายหลัง ซึ่งในแต่ละปีมีการสั่งนำเข้ายารักษาเด็กสมาธิสั้นอยู่ที่ 45 ล้านบาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook