สทอภ.ร่วมกับทั่วโลกประชุมวิชาการเทคโนยีอวกาศและภูมิสารสนเทศประจำปี

สทอภ.ร่วมกับทั่วโลกประชุมวิชาการเทคโนยีอวกาศและภูมิสารสนเทศประจำปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ร่วมกับทั่วโลกประชุมวิชาการเทคโนยีอวกาศและภูมิสารสนเทศประจำปี หวังแลกเปลี่ยนความรู้ต่อยอดผลงานวิจัยของแต่ละประเทศ รศ.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สทอภ. ได้ร่วมกับกรมแผนที่ทหาร สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมการสำรวจและการแผนที่ สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมการแผนที่แห่งประเทศไทย และสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย จัดการประชุมวิชาการ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี 2552 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศจากทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 14 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน จีฝรั่งเศส มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมให้นักวิชาการ นักวิจัย และหน่วยงานต่างๆ ได้เสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านภูมิสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการต่อยอดผลงานวิจัยของแต่ละประเทศ โดยครั้งนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย หรือ Rassian Academy of Natural Science (RANS) มาถ่ายทอดประสบการณ์ การฝึกปฏิบัติ และการวิเคราะห์ พร้อมขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญของไทยมาให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การรับมือการเปลี่ยนแปลงโลกด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ การบรรยายในหัวข้อข้อมูลดาวเทียมธีออสแบบพกพา หรือ "THEOS TO GO แะ การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมธีออสในการทำแผนที่ 3 มิติ หรือ "THEOS Approach of 3D Mapping นอกจากนี้ ยังเสนอบทความทางวิชาการและการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย ความก้าวหน้า และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เกือบ 50 หน่วยงาน ด้านการเกษตร ป่าไม้ การใช้ที่ดิน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ รวมถึงการทำแผนที่ เบื้องต้นจะนำไปต่อยอดใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมธีออส พร้อมเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาแข่งขันโดยการนำเสนอผลงานโครงงานวิจัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศระดับเยาวชนจำนวน 13 โครงการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook