เข้าสู่ยุค 4 จี

เข้าสู่ยุค 4 จี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
แม้ว่าเทคโนโลยีสำหรับยุค 3 จี ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน แต่การปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อเข้าสู่ยุค ที่ 4 นั้น ก็ยังคงเป็นเทคโนโลยีเดิมคือ ไวแม็กซ์ (Wimax) และแอลทีอี (LTE-Long Term Evolution)

เทคโนโลยีไวแม็กซ์นั้นเป็นกลุ่มของบริษัทเคลียร์ไวร์ ซึ่งมาจากสปรินท์ และอินเทล นอกจากนั้นก็มีกลุ่มผู้ประกอบการด้านเคเบิลคอมคาสท์ และไทม์วอร์นเนอร์ สนับสนุนอยู่ บริษัทเคลียร์ไวร์ได้สร้างเครือข่ายไปเรียบร้อยแล้ว 13 เมือง ในประเทศสหรัฐอเมริกา และกำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนแอลทีอี ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้พร้อมเข้าสู่ยุค 4 จี ด้วย การเพิ่มความจุ และความเร็วของเครือข่ายโทรคมนาคมไร้สาย ซึ่งจะมีผู้ประกอบ การด้านเทคโนโลยีไร้สาย อย่างน้อย 50 แห่งเข้าร่วม ผู้ริเริ่มสร้างจะเป็นเวริซอน ไวร์เลส โดยจะเริ่มในปีหน้า ปี ค.ศ. 2010 โดยที่ปีหน้า เอ็นทีที โดโคโม แห่งประเทศญี่ปุ่น และเทเลียโซเนอรา แห่งสวีเดน ก็จะเริ่มมีบริการแอลทีอี ให้ในปีหน้าเช่นกัน ซึ่งจะเิ่มขยายเครือข่ายอย่างจริงจังปี ค.ศ. 2011 เป็นต้นไป

ปัญหาของ 4 จี ก็คือการบริการยังเป็นลักษณะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เหมือนเกาะที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อกัน ซึ่งยังคงจะต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะให้ครอบคลุมได้ทั่วทั้งประเทศ

บริษัทเวริซอนก็จะต้องเริ่มบริการตามหัวเมืองขนาดใหญ่ก่อนแล้วค่อยขยายออกไป เวริซอนคาดว่า จะมีเมืองที่ใช้บริการระดับ 4 จี ประมาณ 25 ถึง 30 แห่ง ในปี ค.ศ. 2010 ปัญหาอีกประการหนึ่งของ 4 จี ก็คือ ผู้ประกอบการนั้นยังขาดแคลนอุปกรณ์ สำหรับรองรับการใช้งานยุค 4 จี

สปรินท์กำลังจะพัฒนาการให้บริการคู่ขนาน ระหว่าง 3 จี และ 4 จี ด้วยคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป ที่ไหนมี 3 จี ก็ใช้ 3 จี ที่ไหนมี 4 จี ก็ ใช้ได้ ซึ่งเป็นบริการสำหรับ 4 จี ไวแม็กซ์เท่านั้น

ส่วนกรณี แอลทีอี ยังไม่มีอุปกรณ์รองรับในขณะนี้ และเครือข่ายแบบ 4 จี ปัจจุบันยังไม่มี ปีหน้าก็จะคงมีผู้ผลิตอุปกรณ์สำหรับใช้กับแอลทีอี จำนวนมาก และบริษัท เวริซอน ก็จะใช้วิธีการฝังชิพ เื่อให้บริการคู่ขนานทั้ง 3 จี และ 4 จีด้วย คือมีได้ทั้ง กรณีคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป และโทรศัพท์มือถือด้วย

คาดว่าอุปกรณ์ เพื่อใช้งานรองรับ 4 จี ของแอลทีอี น่าจะต้องรออีก สักประมาณ 18 เดือน ถึง 2 ปี ผู้บริโภคจึงจะได้เห็น และกว่าจะแพร่หลายไปได้ทั่วโลก ก็คงจะใช้เวลาหลังจากนั้นอีกหลายเดือน

โดยสรุป ยุค 4 จี ก็คงจะเริ่มไปอย่างช้า ๆ และมั่นคง 3 จีก็จะยังคงมีผู้บริโภคต้องการ และมีการ พัฒนาความเร็ว ให้เป็นที่พอใจกับผู้บริโภค ท่านผู้อ่านก็คงจะต้องพิจารณาติดตามกันต่อไป.

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล

boonmark@rus.ac.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook