เร่งช่วยแรงงานจาก 65 โครงการ

เร่งช่วยแรงงานจาก 65 โครงการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กรณีมาบตาพุดชี้ศาลฯสั่งถือยุติ

อุต-แรงงาน เร่งหามาตรการช่วยเหลือแรงงานตกงานจาก 65 โครงการในมาบตาพุดชะงัก ด้านสภาทนายความชี้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดถือเป็นข้อยุติ รัฐอุ้มเอกชนขออุทธรณ์อีกไม่ได้ ส่วน สผ.แจงทำอีไอเอก่อน รธน.50 แต่ไร้ใบอนุญาตต้องเข้าข่าย ม. 67

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. น.ส.สุชญา อัมราลิขิต ผอ.สำนักวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมหาแนวทางให้ภาคเอกชน 39 โครงการขออุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองสูงสุดให้ระงับกิจการ โดยระบุผ่าน การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อนรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า ไม่สามารถใช้อีไอเอที่ผ่านความเห็นชอบจาก สผ. เป็นข้ออ้างได้ เพราะถึงจะบอกว่าโครงการอนุมัติอีไอเอ ก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้เมื่อ 24 ส.ค. 2550 แต่เนื่องจากโครงการเหล่านี้ ยังไม่ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานอนุญาตให้ประกอบ กิจการก่อนที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ จึงถือว่ายังไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นโครงการเหล่านี้จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ 2550 ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่มีคำตัดสินไว้

ข้อสรุปจากคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเกี่ยวกับการแก้ประกาศ ทส. ค่อนข้าง ชัดเจนแล้วว่า จะมีการตัดประเด็นการตอิสระด้านสิ่งแวดล้อมออกไป โดยใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว ส่วนเนื้อหา อื่น ๆ เช่น 19 โครงการรุนแรง กระบวน การรับฟังความเห็น และการประเมินเอชไอเอ จะยังอยู่ในประกาศ ทส.อยู่ ทั้งนี้ตามขั้นตอนการแก้เนื้อหาประกาศ ทส. อาจจะ ใช้เวลาไม่มาก ถ้าทางกรรมการ 4 ฝ่ายสามารถสรุปได้ ก็จะส่งกลับให้ สผ.ปรับแก้ประกาศส่งให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว. ทรัพยากรฯ ลงนามใหม่ และเสนอเข้าบอร์ดสิ่งแวดล้อม และ ครม. รับทราบ ทั้งนี้ได้เตรียมวาระประชุมบอร์ดสิ่งแวดล้อมในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ โดยในส่วนของ สผ. ต้อง เตรียมโครงสร้างคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิเศษเพื่อรองรับในกรณีนี้ด้วย นางสาว สุชญา กล่าว

ด้านนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ กล่าวว่า การที่รัฐบาลจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไปแล้วและถือเป็นข้อยุติที่ทุกฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตามช่องทางที่สามารถทำได้คือมีข้อเท็จจริงที่เป็นข้อมูลใหม่ที่จะชี้แจงต่อศาลปกครองสูงสุดหรือไม่ เพื่อขอให้ศาลเปิดการพิจารณาใหม่เฉพาะรายไป เช่น พื้นที่โรงงานไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตควบคุมมลพิษ เป็นต้น ซึ่งตนขอถามว่ารัฐบาลมีข้อมูลใหม่เหล่านี้หรือไม่

ส่วน นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ิดเผยภายหลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมผลกระทบจากปัญหามาบตาพุด ว่า อยู่ระหว่างการประสานงานกับกระทรวงแรงงานเพื่อหามาตรการช่วยเหลือแรงงานที่อาจได้รับผลกระทบจากการระงับ 65 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 4.5 หมื่นราย แบ่งเป็นแรงงานที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 3 หมื่นคน และอยู่ระหว่างดำเนินกิจการ 1.5 หมื่นคน

มั่นใจว่าส่วนหนึ่งบริษัทในเครือจะเกลี่ยแรงงานไปช่วยงานในส่วนอื่นก่อน ส่วนกลุ่มแรงงานก่อสร้างซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้รับเหมาหากยังไม่มีงานทำภาครัฐอาจพิจารณาช่วยเหลือให้ทำงานในโครงการก่อสร้างอื่นหรือช่วยเหลือหางานอื่นเพื่อให้ แรงงานมีรายได้ไปก่อน จากผลกระทบที่ เกิดขึ้นในเบื้องต้นจะส่งผลกระทบต่อราย ได้ผู้ประกอบการควรจะได้รับหายไป 3.3 แสนล้านบาทต่อปี ดังนั้นคาดว่าวันที่ 19 ธ.ค. นี้กระทรวงจะสามารถรวบรวมรายละเอียดของโครงการที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดและจะสามารถเสนอให้ที่ประชุม ครม. รับทราบได้ในวันที่ 22 ธ.ค. นายวิฑูรย์ กล่าว.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook