เผย 5 ขั้นตอน "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก." 22 พ.ค.นี้ ถ้าไปใช้สิทธิไม่ได้ ต้องทำไง

เผย 5 ขั้นตอน "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก." 22 พ.ค.นี้ ถ้าไปใช้สิทธิไม่ได้ ต้องทำไง

เผย 5 ขั้นตอน "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก." 22 พ.ค.นี้ ถ้าไปใช้สิทธิไม่ได้ ต้องทำไง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กทม. แนะ 5 ขั้นตอนใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ พร้อมย้ำเคร่งครัดมาตรการป้องกันโควิด-19 ขณะใช้สิทธิเลือกตั้ง เตือนผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ ต้องแจ้งเหตุจำเป็นช่วงก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน มิฉะนั้นอาจเสียสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี

กรุงเทพมหานคร (กทม.) แนะแนวทางการเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) รวมถึงขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่ 08.00 - 17.00 น. โดยย้ำว่า ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง พร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองอุณหภูมิป้องกันโควิด-19

5 ขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.

ใกล้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องออกไปใช้สิทธิเลือกคนดี คนเก่ง เข้ามาพัฒนากรุงเทพมหานครของเรา ก่อนจะออกไปใช้สิทธิเรามาดูขั้นตอนการเลือกตั้งกัน และอย่าลืมสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง พร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองอุณหภูมิป้องกันโควิด 19

ขั้นตอนที่ 1

ตรวจสอบรายชื่อ และลำดับที่ของตนเอง จากบัญชีรายชื่อที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้งให้เรียบร้อย

ขั้นตอนที่ 2

ยื่นหลักฐานแสดงตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ ที่มีภาพถ่าย และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อ

ขั้นตอนที่ 3

ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือลงที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ และรับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ
ในกรณีที่ย้ายเขตที่อยู่ใหม่ จะได้รับบัตรเลือกตั้งที่เขตที่อยู่ใหม่เพียงใบเดียว คือ บัตรเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และจะต้องเดินทางไปยังเขตที่อยู่เดิมที่ได้ทำการเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

ขั้นตอนที่ 4

เข้าคูหา ทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องให้เต็มช่อง โดยทำเครื่องหมาย ดังนี้

  • บัตรสีน้ำตาล เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สามารถเลือกผู้สมัครได้ 1 คน เท่านั้น
  • บัตรสีชมพู เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สามารถเลือกผู้สมัครได้เขตละ 1 คน ในเขตของตนเท่านั้น
  • หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใดให้กากบาทที่ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน แล้วพับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ ให้เรียบร้อย

ขั้นตอนที่ 5

หย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบด้วยตนเอง โดยจะต้องสังเกตหีบบัตร และหย่อนให้ถูกประเภทด้วย

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะเสียงคุณสำคัญ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากเอกสารที่ส่งไปที่บ้าน บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ณ สำนักงานเขตและสถานที่เลือกตั้ง แอปพลิเคชัน Smart Vote หรือเว็บไซต์ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/#/

อย่าลืมแจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง เลี่ยงถูกตัดสิทธิการเมือง 2 ปี

หากไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อไม่ให้ถูกจำกัดสิทธิทางการเมือง โดยสามารถแจ้งก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน คือ ระหว่างวันที่ 15-21 พ.ค. 65 หรือ 23-29 พ.ค. 65 ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่

  1. ทำเป็นหนังสือ นำไปยื่นด้วยตนเอง หรือมอบหมายผู้อื่นไปยื่นแทน
  2. ทำเป็นหนังสือ จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และ
  3. ระบบออนไลน์ ทางเว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/abscause/#/main หรือแอปพลิเคชัน Smart Vote หัวข้อเลือกตั้งท้องถิ่น แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ถ้าหากไม่ไปเลือกตั้ง จะถูกจำกัดสิทธิอะไรบ้าง

  1. ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
  2. ไม่สามารถสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
  3. ไม่สามารถเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  4. ไม่สามารถดำรงตำแหน่ง ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
  5. ไม่สามารถดำรงตำแหน่ง รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐสภา
  6. ไม่สามารถดำรงตำแหน่ง เลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ ของ เผย 5 ขั้นตอน "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก." 22 พ.ค.นี้ ถ้าไปใช้สิทธิไม่ได้ ต้องทำไง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook