ดร.ยุ้ย พร้อมรับหน้าที่ Chief Strategist ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 200 นโยบายของทีม "ชัชชาติ"

ดร.ยุ้ย พร้อมรับหน้าที่ Chief Strategist ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 200 นโยบายของทีม "ชัชชาติ"

ดร.ยุ้ย พร้อมรับหน้าที่ Chief Strategist ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 200 นโยบายของทีม "ชัชชาติ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดร.ยุ้ย หรือ “ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่ออกปากไม่ขอรับตำแหน่งบริหารใดๆ ในกทม. ตั้งแต่ตัดสินใจเริ่มลุยลงพื้นที่ ผ่านมากว่า 2 ปี ดร.ยุ้ย คือ ผู้ที่ทำงานหนักเข้มข้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร พร้อมยืนกรานที่จะเป็นเบื้องหลังทำหน้าที่สานต่อนโยบายกว่า 200 เรื่องในฐานะ Chief Strategist หรือที่ปรึกษายุทธศาสตร์

s__24805450

สำหรับบทบาทของ Chief Strategist หน้าที่หลัก คือ ผลักดันทุกนโยบายที่ให้กับประชาชนไว้ออกมาให้เป็นผลสำเร็จ ดูแลด้านงบประมาณ เน้นการเพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่ายของกรุงเทพฯ ที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของการบริหารจัดการเพื่อประชาชนในทุกมิติ

แม้ว่า ดร.ชัชชาติ จะย้ำเสมอว่านโยบาย 214 เรื่อง ไม่มีเรื่องไหนต้องทำก่อน ทั้งหมดต้องทำไปพร้อมๆ กัน แต่ปัญหาเร่งด่วนหนักอกของคนกรุงที่มาจ่อคอหอยทีมผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ หนีไม่พ้น 3 เรื่องหลัก คือ ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาความปลอดภัยทางถนน และ ปัญหาปากท้องของประชาชน

s__24805457
จากปัญหาเหล่านี้ เมื่อเข้าไปสแกนนโยบายก็จะพบหลายข้อที่จะมาตอบโจทย์ อย่างปัญหาน้ำท่วม นโยบายที่ต้องเดินเครื่องจากนี้ อาทิ การขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ 3,000 กิโลเมตร การกวดขันจับ/ปรับ การทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน เพิ่มแก้มลิงธรรมชาติ พื้นที่รับน้ำให้กรุงเทพฯ ปรับปรุงซ่อมแซมแก้ฟันหลอคันกั้นน้ำริมแม่น้ำ และคลองสายหลัก เซนเซอร์สูบน้ำ ไม่ต้องรอขอกุญแจ ไม่เช่นนั้นคงไม่ทันการณ์กับความทุกข์ร้อนของประชาชน

s__24805453
ขณะที่ปัญหาความปลอดภัยทางถนน ได้แก่ กรุงเทพฯ ต้องสว่าง ยกระดับคุณภาพกล้องวงจรปิด ป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก ใช้ CCTV กวดขันวินัยจราจร ตรวจสอบและปรับปรุงทางข้ามทั้งกรุงเทพฯ ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ลดความเร็ว ลดความเสี่ยง ในย่านชุมชนและถนนสายรอง กรุงเทพฯ เดินได้พัฒนาทางเดินเท้าคุณภาพทุกถนน ซอย มีทางเดิน-ปั่นสะดวก เชื่อมขนส่งสบาย ลดการใช้รถ แจ้งปัญหาวินฯ ผ่านแพลตฟอร์มฟองดูว์ เป็นต้น

s__24805458
ส่วนปัญหาปากท้องของประชาชน อาทิ ขึ้นทะเบียนผู้ค้าแผงลอย พร้อมติดตามการดำเนินการ Registering street vendors เตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับพื้นที่การค้าหาบเร่แผงลอย ส่งเสริมให้ผู้ค้าแผงลอยมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ หาพื้นที่ของเอกชน หรือหน่วยงานราชการที่สามารถจัดเป็นพื้นที่ขายของสำหรับหาบเร่ หรือ ศูนย์อาหาร ฝึกอาชีพพัฒนาทักษะยุคใหม่ตอบโจทย์ตลาดงานทำตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดเขต ทำตลาด กทม. ออนไลน์ ขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในกรุงเทพฯ และ โปร่งใส ไม่มีส่วย เป็นต้น

ต้องจับตากันต่อว่าในอีก 4 ปีนับจากนี้ สิ่งที่ตั้งเป้าไว้ เรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของคนในกรุงเทพฯ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง กรุงเทพมหานครจะเป็นเวทีสำคัญที่จะพิสูจน์ว่า“ดร.ยุ้ย ” และ ทีมยุทธศาสตร์จะต้องเผชิญกับความท้าท้าย ด้วยความแข็งแกร่งเพียงใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook