NIA: โลกเปลี่ยน หน่วยงานรัฐปรับ สู่การสนับสนุน LGBTQ+

NIA: โลกเปลี่ยน หน่วยงานรัฐปรับ สู่การสนับสนุน LGBTQ+

NIA: โลกเปลี่ยน หน่วยงานรัฐปรับ สู่การสนับสนุน LGBTQ+
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Highlight

  • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการยอมรับกลุ่ม LGBTQ+ ของหน่วยงานภาครัฐไทยคือวัฒนธรรมองค์กร แต่โดยรวมแล้ว ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐ
  • การแสดงออกถึงการยอมรับกลุ่ม LGBTQ+ หลายครั้งมักมาในรูปแบบของ “เพื่อนร่วมงาน” ที่ถือเป็นคนในทีมเดียวกันและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตการทำงาน โดยไม่เกี่ยวว่าคน ๆ นั้นจะมีเพศสภาพแบบไหน 
  • กระแส Pride Month ที่หลายหน่วยงาน ทั้งภาตรัฐและเอกชน ร่วมแสดงจุดยืนและติดธงสีรุ้ง ถูกตั้งคำถามว่าเป็นกิจกรรมฉาบฉวยหรือไม่ ซึ่งดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ชี้ว่า ต้องรอดูกัน และการสนับสนุนควรมีขึ้นทั้ง 12 เดือน ไม่ใช่แค่เดือนเดียว
  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ก็เป็นอีกหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนนวัตกรกลุ่ม LGBTQ+ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ทางหน่วยงานเข้ามาให้การดูแล เพื่อช่วยสร้างอัตลักษณ์ระบบนวัตกรรม ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย 

พอปฏิทินหมุนเปลี่ยนมาถึงเดือนมิถุนายน หลายสถานที่ทั้งบนโลกออนไลน์และในโลกแห่งความจริงต่างก็ร่วมใจกันติด “ธงสีรุ้ง” เพื่อเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ เนื่องในเดือนไพรด์ (Pride Month) จนกลายเป็นเหมือนอีเวนต์สำคัญประจำปีไปแล้ว เช่นเดียวกับ “หน่วยงานภาครัฐของไทย” ที่ปีนี้เริ่มตื่นตัวเรื่องเพศที่หลากหลายและออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุนกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) มากขึ้น แล้วการเปลี่ยนแปลงต่อประเด็นเรื่องเพศในหน่วยงานรัฐกำลังสะท้อนอะไร Sanook พูดคุยกับ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เพื่อทำความเข้าใจประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศกับหน่วยงานภาครัฐ 

หน่วยงานภาครัฐของไทยกับประเด็น LGBTQ+ 

“ในกรณีของเมืองไทย ผมมองว่ามันมีความแตกต่างกันค่อนข้างเยอะ เวลาเราพูดถึงองค์กรภาครัฐโดยรวม หลายแห่งก็ต้องบอกว่ามันไม่มีปัญหาอะไร บางแห่งก็จะมีประเด็นปัญหาเยอะ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรมากกว่า แต่โดยรวมผมคิดว่าหน่วยงานภาครัฐของไทย เรื่องความหลากหลายทางเพศไม่น่าจะเป็นประเด็นปัญหาที่ใหญ่มาก ว่าคนที่มีความหลากหลายทางเพศไม่สามารถแสดงออกถึงเพศสภาพ หรือความเป็นตัวตนของเขาได้” ดร.พันธุ์อาจ เริ่มต้นอธิบาย 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

กระทรวงการต่างประเทศถือเป็นกระทรวงแรกของไทยที่ประกาศว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นคนข้ามเพศ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นหมุดหมายอันดีที่หน่วยงานภาครัฐของไทยอยากให้การสนับสนุนคนที่มีความหลากหลายทางเพศในพื้นที่การทำงาน เช่นเดียวกับในส่วนของมหาวิทยาลัยที่เริ่มตระหนักถึงสิทธิของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย และเปิดกว้างเรื่องการแต่งกายตามเพศสภาพ เพื่อสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรกับคนทุกเพศ ซึ่ง ดร.พันธุ์อาจ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า 

“ผมคิดว่ามันเริ่มมีกระบวนการเหล่านั้นที่ทำให้เห็นว่า เมื่อมีเพศสภาพที่แตกต่างกัน ก็สามารถแสดงออกได้ บางหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานที่ค่อนข้างต้องมีระเบียบวินัยสูง ก็อาจจะลำบากนิดนึง ขึ้นอยู่กับว่ามันเป็นวัฒนธรรมองค์กรอย่างไรบ้าง” 

การยอมรับความหลากหลายผ่านความเป็น “เพื่อน” 

แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่า “อคติทางเพศ” ยังเป็นหนึ่งปัญหาสำคัญของขบวนการขับเคลื่อนเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ​และในหน่วยงานภาครัฐ แต่ ดร.พันธุ์อาจ ก็มองว่าการแสดงออกของผู้คนว่ารู้สึกไม่ชอบหรือต่อต้านในปัจจุบันนี้ มีความรุนแรงน้อยลงกว่าในอดีตมาก และคล้ายกับว่ามันได้กลายเป็นปัญหา “เฉพาะบุคคล” มากกว่าเป็นปัญหาสังคมโดยรวมไปแล้ว 

กลุ่ม LGBTQ+ ไทยกลุ่ม LGBTQ+ ไทย

“เราจะเห็นได้ว่า มันก็มีการยอมรับในที ว่ามันเป็นสิ่งที่อยู่ในทีมของเรา เป็นเพื่อนของเรานะ คนกลุ่มนี้กลายเป็นเพื่อนในที่ทำงาน โดยที่ไม่รู้สึกว่า เขามีความแตกต่าง เขาคือเพื่อน ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก” ดร.พันธุ์อาจชี้ 

“มันคือการแสดงออกว่า คนไทยทำงานกันเป็นทีมมากขึ้น ถ้าบอกว่าเพื่อนร่วมงานของเรา นี่คือทีมของเรา นี่คือส่วนหนึ่งในชีวิตการทำงาน แล้วมันอาจจะออกไปมากกว่าชีวิตการทำงานด้วยซ้ำไป คือเวลาส่วนตัว เวลาเพื่อนจากที่ทำงานกลายเป็นเพื่อนสนิท กลายเป็นคนที่ดูแลซึ่งกันและกัน มันไม่เกี่ยวว่าเขามีลักษณะเพศสภาพแบบไหน ผมว่าคนรุ่นใหม่ยอมรับสิ่งเหล่านี้มากขึ้น แต่คนรุ่นเก่าก็จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ในที่สุดแล้ว เราก็จะเห็นประเทศไทยเคลื่อนตัวไปสู่ประเทศที่มีความใจกว้างสูงมากขึ้นทีเดียว” 

กระแส Pride Month กับหน่วยงานในประเทศ

การยอมรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในหน่วยงานภาครัฐที่เพิ่มมากขึ้น รวมกับกระแสของการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมติดธงสีรุ้งในเดือนมิถุนายนปีนี้มากเป็นพิเศษ 

กลุ่ม LGBTQ+ ไทยกลุ่ม LGBTQ+ ไทย

“มันเกิดอะไรขึ้นในเมืองไทย หน่วยงานเอกชน หน่วยงานรัฐ ขึ้นสเตตัสสีรุ้งกันเต็มไปหมด ผู้บริหารหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารของรัฐ หน่วยงานราชการ บางหน่วยงานผู้บริหารก็ออกมาทำแคมเปญ มีการพูดถึงการยอมรับกลุ่มคน LGBTQ+ ในที่ทำงาน มันกลายเป็นว่าปีนี้ Pride Month เหมือนเป็นการเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของหน่วยงานราชการ ลามไปถึงหน่วยงานเอกชน เผลอ ๆ หน่วยงานราชการทำมากกว่าหน่วยงานเอกชนอีก” ดร.พันธุ์อาจกล่าว 

“อันนี้ก็คือการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานราชการนะ มีภาพลักษณ์ออกมา มีคนออกมาพูดยอมรับ ไม่เคยมีมาก่อน อันนี้คือสิ่งที่ยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้เหมือนกันว่า มันกลายมาเป็นกระแสหรือจะเป็นแค่กิจกรรมฉาบฉวย คงต้องรอดูกันต่อไปว่าเมื่อคุณเปิดหน้าเล่นแบบนี้แล้ว การยอมรับจริง ๆ มันคือการทำให้เกิดการยอมรับทั้ง 12 เดือน ไม่ใช่แค่เดือนนี้” 

NIA ร่วมฉลองความหลากหลายทางเพศ 

เมื่อพูดถึงเรื่องของ “นวัตกรรม” หลายคนคงนึกภาพของหุ่นยนต์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แต่ ดร.พันธุ์อาจ ชี้ว่า เราควรมองนวัตกรรมเป็น 360 องศา และอีกบทบาทหนึ่งของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติก็คือการทำงานกับ “นวัตกรรมสังคม” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พูดถึงมนุษย์ 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

“ในกรณีของนวัตกรรมที่เกี่ยวกับ Pride มันเป็นการพูดถึงตัวตนของเจ้าของกิจการที่เขามาทำธุรกิจ หรือไม่ใช่เจ้าของก็ได้ แต่เขาทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ของคนที่เป็น LGBTQ+ นั่นหมายความว่า เขารู้ว่ามีคนเหล่านี้อยู่และมีตลาด อันนี้คือเรื่องของธุรกิจ แล้วเรื่องของสังคมคืออะไร ถ้าเขามีชีวิตอยู่ด้วยกัน เขาถึงต้องการสิ่งที่เรียกว่า กฎหมายที่เท่าเทียมกัน อันนี้เป็นเรื่องของนวัตกรรมสังคม” ดร.พันธุ์อาจอธิบาย  

เมื่อถามต่อว่า การสนับสนุนนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม LGBTQ+ จะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยอย่างไร ดร.พันธุ์อาจ ชี้ว่า เมื่อมีการสนับสนุน ก็จะทำให้เกิดการสร้างอัตลักษณ์ของระบบนวัตกรรม ที่จะยอมรับกลุ่ม LGBTQ+ ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หรือเป็นการ “เพิ่มคุณค่า” ให้กับระบบนวัตกรรมไทยให้มากขึ้นนั่นเอง 

กลุ่ม LGBTQ+ ในไทยกลุ่ม LGBTQ+ ในไทย

“การที่เรามีธุรกิจสำหรับคนกลุ่มนี้ มันกลายเป็นว่า เราใช้จุดแข็งที่เรียกว่าเป็น Soft Power อีกแบบหนึ่งของเมืองไทย สามารถทำให้เกิดสตาร์ทอัพ เกิดนวัตกรรมที่เข้ามารับรองคนกลุ่มนี้ทั่วโลก แล้วเขาก็มีกำลังซื้อ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและบริการ แล้วสุดท้ายมันก็คือการออกแบบไลฟ์สไตล์ หรือเป็นการทำให้นิยามของคำว่า Innovation for Crafted Living ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของประเทศไทยมันเติบโตได้ ซึ่งอันนี้สำคัญมากเลย” ดร.พันธุ์อาจทิ้งท้าย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook