อดีตพนักงานบริษัทดังร่ำไห้ รวมตัวปรึกษาทนาย หลังถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (คลิป)

อดีตพนักงานบริษัทดังร่ำไห้ รวมตัวปรึกษาทนาย หลังถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (คลิป)

อดีตพนักงานบริษัทดังร่ำไห้  รวมตัวปรึกษาทนาย หลังถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (คลิป)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อดีตพนักงานบริษัทสื่อบันเทิง จำนวน 37 คน ที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เข้าปรึกษาด้านกฎหมายกับ นายเดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายความ จากกรณี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทประกาศปิดตัว

ตัวแทนอดีตพนักงาน เปิดเผยว่า ทางบริษัทฯ ได้เลิกจ้างพนักงานทั้งหมด 89 คน ในนั้นมี 10 คน ที่ยินยอมรับเงินชดเชยไปแล้ว ส่วนอีก 79 คน ไม่ยอมรับเงินชดเชย เพราะทางบริษัทฯ จะจ่ายให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง เพียงร้อยละ 16 ของเงินชดเชยทั้งหมดตามกฎหมาย ยอดเงินชดเชยเลิกจ้างที่ทางบริษัทต้องจ่ายให้ รวมเป็นเงินกว่า 31 ล้านบาท แต่ทางบริษัทบอกว่าจะให้เงิน 5 ล้านบาท ให้ไปแบ่งกันเอาเอง

จึงเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ทั้งที่ที่ผ่านมายอมบริษัททุกอย่าง ไม่ว่าจะลดเงินเดือน , หักเงินเบี้ยเลี้ยง , หักเงินค่าล่วงเวลา และการแบ่งจ่ายเงินเดือน เพราะเข้าใจว่าเศรษฐกิจไม่ดีบริษัทประสบปัญหา ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท เพื่อให้บริษัทอยู่รอด เพราะถือเป็นบ้านอีกหลังที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา แต่สุดท้ายก็มาถูกเท เลิกจ้างแบบไม่ทันตั้งตัว ต้องกลายเป็นคนตกงานโดยไม่รู้ตัว จึงมาปรึกษากับนายเดชาเพื่อดำเนินการทางกฎหมาย และทวงคืนความยุติธรรม

นายเดชา เปิดเผยว่า การที่ทางบริษัทฯ ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างตามหลักเกณฑ์ ถือเป็นการไม่ปฎิบัติตามกฎหมายแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 กรณีนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิการได้รับเงินอย่างใดอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัตินี้และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่ หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง จะต้องจ่ายเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดทันที

สำหรับกรณีนี้จะมีผู้เข้าข่ายความผิด 3 กลุ่ม คือ บริษัท , กรรมการบริษัทผู้มีอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจในการเลิกจ้าง เบื้องต้นนายเดชาให้คำแนะนำอดีตพนักงานบริษัท ควรไปยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อน เพื่อเรียกร้องเงินชดเชยเลิกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนการฟ้องศาลแรงงาน กรณีที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งจะต้องฟ้องแยกอีกส่วน นายเดชาจะช่วยเหลือทางคดีต่อไป

ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (4 ก.ค.65 เวลา 09.00 น.) อดีตพนักงานจะรวมตัวกันไปยื่นหนังสือร้องเรียนที่สำนักสวัสดิการคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4 ด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook