ดีเอสไอพบพิรุธนิคมมาบตาพุดชงเป็นคดีพิเศษ

ดีเอสไอพบพิรุธนิคมมาบตาพุดชงเป็นคดีพิเศษ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
จ่อรับกรณีมาบตาพุดเป็นคดีพิเศษ หลังดีเอสไอพบข้อมูลว่านิคมอุตฯ ปล่อยสารพิษกระทบความเป็นอยู่ประชาชนที่อยู่อาศัยมาก่อนตั้งโรงงาน ขณะที่นายกฯ ต่อต้านสภาวะโลกร้อน โวยมือมืดจ้างชาวบ้านถอนฟ้องมาบตาพุด ส่วน อภิ สิทธิ์ ฝากความหวังการประชุมสิ่งแวดล้อม 24 ธ.ค.นี้ ปัญหาจะคลี่คลาย ขณะที่ปลัดกระทรวง ให้อำนาจอุตสาหกรรมจังหวัดสั่งปิดโรงงานหากเกิดก๊าซรั่ว ทางด้านประธาน ส.อ.ท.มาแปลก หนุน 20 โครงการที่ถูกศาลมีคำสั่งระงับ ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไปก่อน แล้วไปรับความเสี่ยงเองในอนาคต

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. พ.ต.ท.ปกรณ์ สุขชีวะกุล พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 8 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะ หัวหน้าพนักงานสอบสวนชุดตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีสารพิษรั่วไหลจากโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ว่าจากการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบ ข้อพิรุธหลายประเด็นในการขยายโรงงาน เช่น การขยายผังเมืองและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและวิถีชีวิตของประชาชน โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งดำเนินโครงการโดยไม่คำนึงถึงผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมกินพื้นที่ลงไปในทะเลโดยไม่สร้างแนวกันชนตามแนวชายหาด ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรชายฝั่งทะเล และน้ำกัดเซาะชายหาด

พ.ต.ท.ปกรณ์กล่าวอีกว่า ชุดสืบสวนดีเอสไอเชื่อว่ากรณีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีมูลความผิด ชาวบ้านและชุมชนซึ่งอยู่มาก่อนตั้งโรงงาน ได้รับผลกระทบจากภาวะ มลพิษจริง นอกจากนี้ยังมีประเด็นส่อให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลกวดขันการขยายโครงการก่อสร้างโรงงาน ดังนั้นตนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนเตรียมรวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐาน เสนอต่อนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาตัดสินใจนำคดีนี้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการคดีพิเศษ เพื่อ ขอมติให้รับเป็นคดีพิเศษต่อไป

ในส่วนของนายศรีสุวรรณ จรรยา นายก สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ในฐานะผู้ฟ้องคดีให้ 8 หน่วยงานรัฐปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ร่วมกับชาวบ้านมาบตาพุด 41 ราย กล่าวว่า สมาคมฯได้รับการร้องเรียนจากตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ว่า ได้รับหมายคำสั่งศาลปกครองสูงสุดให้ไปไต่สวนคดี ได้มีผู้แอบอ้างทำคำร้องขอถอนชื่อจากรายชื่อผู้ฟ้องคดีในวันที่ 24 ธ.ค. 52 เวลา 13.30 น. ที่ห้องไต่สวนที่ 8 ชั้น 3 ศาลปกครองสูงสุด ทั้งที่ชาวบ้านผู้ฟ้องคดี ไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่ามีรายชื่อเป็นผู้ถอนฟ้องคดีได้อย่างไร

จากการสอบถามชาวบ้านผู้ได้รับหมายเพื่อไปไต่สวนคำร้องการขอถอนคดีดังกล่าว ทำให้ทราบว่ามีอดีตผู้นำชุมชนบ้านบน เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ได้มาหว่านล้อมชาวบ้านผู้ฟ้องคดีทั้ง 41 ราย ให้ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่า พร้อมจ่ายเงินค่าลงรายชื่อจำนวน 1,200 บาท โดยไม่บอกว่าจะนำไปทำอะไร เพียงแต่แจงว่าจะนำไปแจ้งศาลเพื่อให้โรงงานทั้ง 65 โ่งศาลปกครองสูงสุดเท่านั้น เมื่อมีหมายศาล มาถึงชาวบ้านความจริงจึงปรากฏว่าไม่ใช่ตามเจตนารมณ์ของชาวบ้านที่ได้ลงนามไป แต่กลับเป็นการไปถอนฟ้องแทน ชาวบ้านจึงจะรวมตัวกันไปพบศาลตามวันเวลาดังกล่าวเพื่อยืนยันว่าจะไม่มีการถอนฟ้องโดยเด็ดขาด

พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการใช้เล่ห์เพทุบายโดยไม่สุจริต สมาคมฯ ขอประณาม ว่าเป็นการกระทำที่ชั่วช้าเลวทราม เป็นพฤติกรรมหมิ่นศาลและหมิ่นกฎหมายตามประมวล กฎหมายอาญา ฐานให้ความเท็จต่อศาล เป็นพฤติการณ์ที่โง่เขลาเบาปัญญา โดยหารู้ไม่ว่าคดีนี้เป็นคดีสาธารณะ ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถถอนฟ้องได้ นายศรีสุวรรณ กล่าว

เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในมาบตาพุด ว่าในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หากทางคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ศึกษาแล้วได้ข้อยุติเกี่ยวกับระเบียบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และข้อกำหนดของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ จะนำมาพิจารณาในที่ประชุมคณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อให้มีการประกาศใช้ และให้ 65 โครงการจะต้องเข้าสู่กระบวนการเหล่านี้ได้เลย จึงหวังว่าจะสามารถปรับปรุงประกาศสิ่งแวดล้อมได้ในวันที่ 24 ธ.ค.นี้

ขณะที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเดินทาง มาดูปัญหาที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ว่าการมาในวันนี้ไม่ได้มาจับผิด แต่ปัญหาที่เกิดการรั่วไหลของก๊าซบิวเทนขณะขนถ่ายในเรือ เห็นได้ชัดเจนว่ามี 2 หน่วยงาน คือ กรมเจ้าท่า กระทรวง คมนาคม และการนิคมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเกิดเรื่องขึ้นมาเป็นความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่า และอาจมีการประสานงานกับการนิคมฯ ล่าช้าไม่ทันเหตุการณ์

จึงขอฝากผู้ที่เกี่ยวข้องไว้ว่าต้องมีเจ้าภาพชัดเจน เวลาเกิดอุบัติเหตุ และทำขบวนการและขั้นตอนให้ถูกต้อง โดยให้เวลา 30 วัน ซึ่งปลายเดือน ม.ค.นี้จะกลับมารับฟังความคืบหน้าในเรื่องนี้ทั้งที่ท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

ทางด้านนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าได้มอบนโยบายให้อุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศมีอำนาจ สั่งการให้โรงงานหยุดการผลิตทันที 30 วัน หากโรงงานใดเกิดปัญหาก๊าซรั่วหรือเกิดอุบัติอื่นจนทำให้ชาวบ้านเสียชีวิต เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ สาเหตุและดำเนินการแก้ไขต่อไป แต่หากมีเหตุการณ์ทำให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บจะเป็นดุลพินิจของอุตสาหกรรมจังหวัดว่าจะให้หยุดการผลิต หรือให้เจ้าหน้า ที่เข้าไปปรังปรุงให้ดีขึ้น

ขณะที่นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรมาบ ตาพุดประมาณ 20 โครงการ จากทั้งหมด 65 โครงการที่ศาลปกครองสูงสีคำสั่งระงับ อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ปกครอง ให้สามารถก่อสร้างต่อไปได้ เนื่องจากการก่อสร้างไม่ได้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชน

สอท.ต้องการให้ก่อสร้างต่อไปเพื่อให้ ทุกอย่างขับเคลื่อนได้ตามระบบ เพราะการก่อสร้างไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม แถมยังช่วยให้เกิดการจ้างงานต่อไปอีกกว่า 3 หมื่นตำแหน่ง แต่ความเสี่ยงทั้งหมดต้องอยู่ที่ผู้ประกอบการด้วยว่าจะสามารถทำการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และสุขภาพ (เอชไอเอ) ได้หรือไม่ เพราะหากผ่านในอนาคตก็สามารถดำเนินโครงการทันที แต่หากไม่ผ่านก็รับความเสี่ยงไป นายสันติ กล่าว

ทางด้านนายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหา ชน) เปิดเผยว่าตามที่มีข่าวบริษัทผู้ผลิตน้ำมันดิบในอ่าวไทยบริเวณ จ.สงขลา ได้จัดจ้างบริษัท ปตท.ค้าสากล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือปตท. ขนส่งน้ำซึ่งมาจากกระบวน การผลิตน้ำมันดิบไปบำบัดยังต่างประเทศ และ มีการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ทะเลนั้น ขอยืนยันว่า ขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดมีการควบคุมเป็นอย่างดี ไม่มีการถ่ายหรือปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ทะเลแต่อย่างใด

ส่วนที่ จ.นครราชสีมา นพ.สมชาย ตั้งสุภาชัย ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 5 นครราชสีมา เปิดเผยว่ากรณีโรงงานน้ำแข็ง ใน อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ เกิดเหตุก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล ทำให้คนงานและชาวบ้านได้รับอันตราย 78 คน นั้น มีสาเหตุมาจากความประมาทของคนงานและเครื่องจักรชำรุด

สำหรับในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ มีโรงงานน้ำแข็งอยู่ 25 โรง ส่วนใหญ่มีอายุเกิน 10 ปีขึ้นไป และตั้งอยู่ใกล้ชุมชน แต่ละโรงใช้สารแอมโมเนียในการทำความเย็นมากกว่า 3,000 ลิตรต่อปี ถือเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลซ้ำอีก เนื่องจากโรงน้ำแข็งไม่มีระบบความ ปลอดภัยและระบบอาชีวอนามัยที่ดีพอ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ทำหนังสือเตือนให้ผู้ประกอบ การโรงน้ำแข็งเฝ้าระวัง รวมทั้งให้ความรู้แก่คนงานและชาวบ้านหากเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหล ต้องหาวิธีการป้องกันตนเอง โดยต้องอพยพออกจากที่เกิดเหตุทันที หรือผ้าชุบน้ำปิดปากปิดจมูก และไปพบแพทย์ตรวจร่างกาย หลังเหตุระงับแล้ว.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook