ล่าชื่อค้าน อบต.สร้างสำนักงานใหม่ หลังป่าช้า ใช้งบถมดิน 3 ล้าน ซื้อที่ในเมืองยังถูกกว่า

ล่าชื่อค้าน อบต.สร้างสำนักงานใหม่ หลังป่าช้า ใช้งบถมดิน 3 ล้าน ซื้อที่ในเมืองยังถูกกว่า

ล่าชื่อค้าน อบต.สร้างสำนักงานใหม่ หลังป่าช้า ใช้งบถมดิน 3 ล้าน ซื้อที่ในเมืองยังถูกกว่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อบต.เตรียมสร้างสำนักงานใหม่ หลังป่าช้า ห่างไกลชุมชน ชาวบ้านล่าชื่อค้าน เผยเปลืองงบถมที่ 3 ล้าน ซื้อที่ใหม่ในเมืองยังถูกกว่า

(8 ธ.ค.65) เวลา 09.30 น. ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ต.โยธะกา อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 20 คน ได้เดินทางนำรายชื่อประชาชนจำนวนกว่า 700 คน พร้อมหนังสือร้องคัดค้านการก่อสร้างสำนักงาน อบต.โยธะกา แห่งใหม่ มาขอเข้ายื่นต่อ นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการ จ.ฉะเชิงเทรา ในระหว่างที่ได้เดินทางมาเป็นประธานการประชุม เพื่อมอบยโยบายต่อผู้นำชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน และ อปท. ภายในหอประชุมที่ว่าการ อ.บางน้ำเปรี้ยว แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าไปยื่นหนังสือยังภายในห้องประชุมด้านใน

ต่อมาในเวลา 10.20 น. หลังจากที่นายขจรเกียรติ ได้ทำการกล่าวมอบนโยบายเกี่ยวกับเรื่องการขอให้ผู้นำชุมชนช่วยกันสอดส่องดูแลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้ทั่วถึงและทันต่อสถานการณ์ เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องเสียเวลาในการเดินทางเข้าไปยื่นเรื่องร้องเรียนถึงยังหน่วยงานราชการในส่วนกลางหรือทำเนียบรัฐบาล ที่อาจต้องใช้เวลานานนับเดือนกว่าเรื่องจะถูกส่งกลับมายังหน่วยงานภายในจังหวัด และอาจแก้ไขปัญหาได้ไม่ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการช่วยกันสอดส่องดูแลพื้นที่ปรับปรุงแก้ไขแผ่นป้ายเตือน ตามเส้นทาง ป้ายบ่งชี้การจราจรรวมถึงทรัพย์สินสาธารณประโยชน์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มองเห็นได้ชัดเจนหรือสามารถใช้งานได้ตามปกติ

นอกจากนี้ยังได้กำชับรวมไปถึงยังประชาชน ร้านค้าขายของฝากต่างๆ เนื่องจาก จ.ฉะเชิงเทรา นั้นเป็นจังหวัดท่องเที่ยว เป็นเมืองเกษตรอุตสาหกรรม และยังเป็นยังหวัดในพื้นที่อีอีซี เป็นสมาร์ทซิตี้ ตามนโยบายของรัฐบาล จึงขอความร่วมมือให้ประชาชนที่ขายสินค้าและบริการ โดยเฉพาะของฝากช่วยกันรักษามาตรฐานทั้งด้านคุณภาพสินค้า รสชาติ และปริมาณให้คงที่ เพื่อไม่เป็นการเอาเปรียบต่อนักท่องเที่ยว ต่อเนื่องไปจนถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านยาเสพติดด้วยนั้น ก่อนที่จะเดินทางกลับออกมายังที่บริเวณด้านหน้าหอประชุมในเวลาประมาณ 10.30 น.

กลุ่มชาวบ้านซึ่งนำโดย นายจำลอง สิงหนาท อายุ 70 ปี ชาวบ้าน ม.6 ต.โยธะกา จึงได้รวมตัวกันตั้งแถวเข้ายื่นหนังสือเพื่อคัดค้านการเตรียมการก่อสร้างสำนักงาน อบต.โยธะกา แห่งใหม่ พร้อมแนบรายชื่อผู้ร่วมลงนามคัดค้านประมาณ 700 คน จนถึงมือผู้ว่าฯ พร้อมให้เหตุผลว่า ทาง อบต.โยธะกา ได้เตรียมการจัดสร้างสำนักงานแห่งใหม่ขึ้นในพื้นที่บริจาคจากภาคเอกชน ซึ่งอยู่ด้านปลายสุดทางด้านทิศเหนือของตำบลโดยที่ไม่ได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ หรือทำประชาพิจารณ์มาก่อน เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่จำนวน 5 ไร่ มีสภาพเป็นทุ่งนาที่ต้องใช้เงินงบประมาณในการปรับถมดินมากถึง 3 ล้านบาท ตามที่ได้มีการเตรียมการตั้งเงินงบประมาณเอาไว้แล้ว ซึ่งแพงกว่าราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่บริเวณใจกลางชุมชนของตำบล ที่มีราคาซื้อขายเพียงไร่ละ 300,000-350,000 บาทเท่านั้น อีกทั้งที่ตั้งแห่งใหม่นี้ยังเป็นพื้นที่ห่างไกลถึง 10-15 กม. จากชุมชนขนาดใหญ่ (คลอง 19) รวม 5 หมู่บ้าน ที่มีประชากรหนาแน่นกว่ามาก

โดยจุดที่จะสร้าง อบต.แห่งใหม่ เป็นพื้นที่มีประชากรอยู่อาศัยเบาบางใน ม.12 ที่ส่วนใหญ่ราษฎรกว่าครึ่งของหมู่บ้านอยู่ในเขตพื้นที่ของทหารเรือ และเป็นหมู่บ้านเพียงหมู่เดียวที่จะถูกตัดขาดจากทั้ง 13 หมู่บ้านในตำบล หากทางทหารเรือไม่ให้ประชาชนผ่านเส้นทางในพื้นที่ ชาวบ้านจะไม่สามารถเดินทางไปติดต่อราชการที่ อบต.ได้โดยสะดวก เพราะต้องอ้อมไปยังในพื้นที่อื่นเป็นระยะทางยาวไกลถึงกว่า 30 กม. โดยต้องย้อนกลับมายังในตัวอำเภอบางน้ำเปรี้ยวก่อน เพื่อเดินทางไปตามเส้นทางมุ่งหน้า อ.องครักษ์ จ.นครนายก โดยจะต้องอ้อมมาเข้าสู่สำนักงาน อบต.แห่งใหม่ ทางด้าน ต.บางสมบูรณ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก หรืออาจจะต้องเดินทางอ้อมมายังในเขต อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ที่มีระยะทางยาวไกลถึงกว่า 40-50 กม. โดยเฉพาะฤดูฝนที่มีน้ำหลากท่วมพื้นที่ จะไม่มีเส้นทางลัดเลาะผ่านตามทางดินในตำบลข้างเคียงได้เลย

ขณะเดียวกันเส้นทางการสัญจรในปัจจุบันก็ยังไม่สะดวก โดยยังคงเป็นทางดินผิวขรุขระ และมีการถมดินลูกรังหินคลุกบ้างบางจุด แต่ไม่สามารถที่จะพัฒนาเป็นเส้นทางสายหลักอย่างถาวรได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ของทหารเรือ และพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และมีถนนบางช่วงเป็นของหน่วยงานชลประทาน ซึ่งหากหน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ปิดกั้นพื้นที่ ชาวบ้านจะไม่สามารถเดินทางไปยังสำนักงาน อบต.แห่งใหม่ได้ เช่นเดียวกันกับโครงการประปาหมู่บ้าน ที่กำลังเกิดปัญหาการร้องเรียนจากชาวบ้าน ม.12 เอง ที่มีการดำเนินโครงการแล้ว แต่ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำได้ เนื่องจากทางหน่วยทหารเรือไม่อนุญาตให้มีการเดินท่อผ่านเข้าพื้นที่ ทั้งที่โครงการดังกล่าวนี้เป็นโครงการร่วมระหว่าง 2 หมู่บ้าน คือ ม.11 และ ม.12 อีกทั้งจุดที่มีการเตรียมโครงการก่อสร้าง สนง.อบต.แห่งใหม่นี้ ยังเป็นแปลงที่ดินติดกับวัดคลองหกวา ติดกับป่าช้าและเมรุเผาศพอีกด้วย

โดยการเข้ามายื่นหนังสือคัดค้านในครั้งนี้ ชาวบ้านเพียงต้องการให้ทาง อบต.โยธะกา เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อทำประชาพิจารณ์ลงมติรับฟังเสียงจากประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ก่อน หากมติเสียงส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเป็นอย่างไรแล้วนั้น พวกตนยินดีที่จะรับฟัง และจะไม่ออกมาคัดค้านในเรื่องดังกล่าวนี้อีก

นายจำลอง กล่าว หลังนายขจรเกียรติ รับหนังสือจากชาวบ้านแล้ว ได้ซักถามข้อมูลเบื้องต้นจากชาวบ้านเพิ่มเติม และกล่าวว่า จะนำไปดูในรายละเอียดให้อีกครั้ง ก่อนที่จะเดินทางกลับไป จากนั้นชาวบ้านจึงได้นำพาผู้สื่อข่าวเดินทางไปดูยังที่ทำการ อบต.โยธะกา ปัจจุบัน ที่ยังคงเช่าอาคารพาณิชย์ขนาด 2 ชั้นรวม 2 คูหา ในราคาเดือนละ 2 หมื่นบาท เพื่อใช้เป็นที่ทำการอยู่บริเวณใกล้สี่แยกบางน้ำเปรี้ยว ซึ่งถือเป็น อปท.เพียงแห่งเดียวของ จ.ฉะเชิงเทรา หรืออาจเป็นแห่งสุดท้ายของประเทศ ที่ยังไม่มีสำนักงานที่ทำการเป็นของตนเอง

ก่อนที่จะนำพาผู้สื่อข่าวลงไปยังในพื้นที่เตรียมการก่อตั้งสำนักงาน อบต.แห่งใหม่ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจนสุดพื้นที่ของ จ.ฉะเชิงเทรา บริเวณแนวตะเข็บรอยต่อของจังหวัดติดต่อกับเขต จ.นครนายก ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของตำบล และมีสภาพการเดินทางที่ยากลำบากตามที่ชาวบ้านได้ให้ข้อมูลเอาไว้จริง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook