ชนเผ่าผู้ไทยเรณู บวงสรวง "เจ้าปู่ถลา" สถิติเชือดวัวแก้บนปีละกว่าพันตัว เผยเลขเด็ดงวดนี้

ชนเผ่าผู้ไทยเรณู บวงสรวง "เจ้าปู่ถลา" สถิติเชือดวัวแก้บนปีละกว่าพันตัว เผยเลขเด็ดงวดนี้

ชนเผ่าผู้ไทยเรณู บวงสรวง "เจ้าปู่ถลา" สถิติเชือดวัวแก้บนปีละกว่าพันตัว เผยเลขเด็ดงวดนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ชนเผ่าผู้ไทยเรณู เชือดวัวแก้บน "เจ้าปู่ถลา" ปีละกว่าพันตัว หลังขอพรบนบานแล้วสมหวัง เผยเลขเด็ดพิธีบวงสรวง 

(10 ธ.ค.65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลเจ้าปู่ถลา ในเขตเทศบาลตำบลเรณู อ.เรณูนคร จ.นครพนม ได้มี นางสุเพ็ญศรี ยิ่งผล อายุ 79 ปี ที่ชนเผ่าผู้ไทยเรณูนคร เรียกว่า เจ้าจ้ำ หรือร่างทรงปู่ถลา พร้อมด้วย นายสุเมธ แก้วมณีชัย อายุ 60 ปี เจ้าจ้ำ ผู้ดูแลประกอบพิธีกรรมความเชื่อ นำชาวบ้าน ลูกหลานชนเผ่าผู้ไทยเรณูนคร พร้อมด้วยประชาชน นักท่องเที่ยว จากทั่วสารทิศ ได้เดินทางมาร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญ คือ พิธีบวงสรวงบูชาเจ้าปู่ถลา ที่ชาวผู้ไทย ถือเป็น 1 ใน 7 ชนเผ่าของ จ.นครพนม ได้ร่วมกันประกอบขึ้นทุกปี ในช่วงเดือนธันวาคม ของทุกปี ปีนี้จัดขึ้นระว่างวันที่ 8 -10 ธันวาคม 2565

โดยเจ้าปู่ถลา ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเรณูผู้ไทย เป็นมเหศักดิ์หลักเมืองที่ชาวผู้ไทยให้ความเคารพศรัทธามาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าปู่ถลา เป็นเจ้าเมืองทหารากล้า ในอดีตที่มีวิชาอาคมแก่กล้า ดูแลปกปักษ์รักษาบ้านเมือง และดูแลชาวผู้ไทยมาแต่อดีต ทำให้อำเภอเรณูนคร มีการก่อตั้ง ศาลเจ้าปู่ถลา ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้บูชา เพื่อเป็นสิริมงคล มาตั้งแต่ก่อตั้ง อ.เรณูนคร เป็นเวลานานเกือบ 200 ปี หลังอพยพย้ายถิ่นมาจากเมืองวังอ่างคำ สปป.ลาว เชื่อกันว่าหากใครได้มีโอกาสมาร่วมงานบวงสรวงบูชางานเจ้าปู่ถลา จึงถือเป็นมงคลแก่ชีวิต ทำให้มีความร่มเย็นเป็นสุข ทำให้ทุกปี จะมีลูกหลาน สายเลือดชาวผู้ไทย ที่เดินทาง ไปทำงานต่างจังหวัด กลับมาร่วมงาน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง และครอบครัว ทุกคืนจะมีการจัด “มโหสบคบงัน” ตามประเพณี ทั้งดนตรีลูกทุ่งหมอลำ รวมถึงการแสดงฟ้อนรำศิลปะวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เพื่อถวายเจ้าปู่ถลา และส่งเสริมการท่องเที่ยว

สำหรับการประกอบพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้เจ้าปู่ถลา สิ่งที่ขาดไม่ได้ และเชื่อกันว่าเป็นของโปรดเจ้าปู่ถลา คือ เนื้อวัวสด จะต้องมี หัววัว ขาวัว ทั้ง 4 ขา และหางวัว นำมาจัดวางใส่ถาดถวาย รวมถึงเมนูจากเนื้อวัว ประกอบด้วย ก้อยดิบ ใส่เลือด ลาบเนื้อ ย่างเครื่องใน ต้มเนื้อ นอกจากนี้ ยังมีบุหรี่ เหล้าขาว ส่วน ดอกไม้ที่จะถวาย จะต้องเป็นสีแดง ดอกกุหลาบเป็นหลัก ภายหลังจัดเครื่องสักการะบูชาถวายเจ้าปู่ถลา กลายเป็นที่ฮือฮา หลังจากเจ้าปู่ถลา ได้ประทับร่างทรง

นางสุเพ็ญศรี ยิ่งผล อายุ 79 ปี ที่ชนเผ่ผู้ไทยเรณุนคร เรียกว่า เจ้าจ้ำ หรือร่างทรงปู่ถลา ทำให้มีอาการสั่น นั่งชันเข่าเหมือนคนแก่ และพูดคุยสื่อสารกับชาวบ้าน ระบุว่า เจ้าปู่ถลามารับเครื่องเซ่นไหว้ โดยเฉพาะก้อยดิบ ลาบเลือดวัวสดๆ ซดกินจนเลือดหมดถ้วย ดูดบุหรี่พร้อมกันครั้งละ 2 มวน และยกขวดเหล้าขาวดื่มเป็นขวด พร้อมอวยพรให้ลูกหลาน มีความร่มเย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรือง โดยทางลูกหลานชาวผู้ไทย ได้ขอเลขมงคล ในงวดนี้ เจ้าปู่ถลา ได้ให้เลขมงคล 84 ต่างพากันไปเสี่ยงโชคซื้อลอตเตอรี่ จนเกลี้ยงแผง

ด้าน นายสุเมธ แก้วมณีชัย อายุ 60 ปี เจ้าจ้ำ ผู้ดูแลการประกอบพิธีแก้บน เซ่นไหว้บวงสรวงเจ้าปู่ถลา กล่าวว่า สำหรับเจ้าปู่ถลา เป็นมเหศักดิ์หลักเมือง บรรพบุรุษ ผู้ปกปักรักษา ชนเผ่าผู้ไทย มาแต่อดีต ตามประเพณีความเชื่อ โดยจากตำนานชนเผ่าผู้ไทย มีการอพยพย้ายถิ่นมาจากเมืองวังอ่างคำ สปป.ลาว ข้ามน้ำโขงมา ก่อตั้งบ้านเมือง ในพื้นที่ อ.เรณูนคร จ.นครพนม และมีความเชื่อว่าเจ้าปู่ถลา เป็นบรรพบุรุษ เป็นทหารนักรบผู้กล้า ที่ต่อสู้ดูแลชนเผ่าผู้ไทย ดูแลบ้านเมืองมาแต่อดีต หลังมีการอพยพย้ายมาก่อตั้ง อ.เรณูนคร จึงมีการปั้นรูปเหมือนเจ้าปู่ถลา ตามประเพณีความเชื่อที่มีคนได้นิมิตเห็นรูปร่างหน้าตา ก่อนนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้าปู่ถลา ตั้งแต่ก่อตั้งเมือง อายุนานเกือบ 200 ปี ทำให้เกิดความเคารพศรัทธามาถึงปัจจุบัน เนื่องจากเจ้าปู่ถลา ชาวผู้ไทยเชื่อกันว่า เป็นทหารกล้า ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ที่สร้างปาฏิหาริย์ ให้กับลูกหลานที่มาขอพรบนบานศาลกล่าว ทั้งให้โชคลาภ คุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย จึงมีการสืบทอดประเพณีบวงสรวงเจ้าปู่มาทุกปี โดยลูกหลานชาวผู้ไทย ประชาชน นักท่องเที่ยว จะมากราบไหว้บูชา นำเครื่องราง วัตถุมงคล ไปเก็บรักษา เป็นสิริมงคล ตามความเชื่อ และเป็นสิริมงคล

แต่ที่ขาดไม่ได้ในการถวายเครื่องสักการบูชา เจ้าปู่ถลา หรือการแก้บนจะต้องมีการนำวัว ที่ชำแหละสดๆ นำเนื้อมาทำลาบดิบ ก้อยดิบ ใส่เลือดสด และจะต้องนำส่วนหัวของวัว หาง และขา 4 ขา มาถวายด้วย โดยจากข้อมูลการลงทะเบียน พบว่าในแต่ละปี จะมีคนที่นำวัวมาเชือดแก้บน หลังประสบความสำเร็จ และเป็นเครื่องเซ่นไหว้ถวาย ปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 ตัว ถือเป็นพลังศรัทธาความเชื่อของชนเผ่าผู้ไทย ที่มีมาแต่อดีต จากเดิมจะนำมาเชือดในพื้นที่ศาลเจ้าปู่ถลา ปัจจุบันจะนำไปเชือดชำแหละที่โรงฆ่าสัตว์เทศบาลตำบลเรณูนคร เพื่อป้องกันโรคติดต่อ ตามสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สำคัญปีนี้ทางอำเภอเรณูนคร ได้ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง และชนเผ่าผู้ไทย จัดสร้างหอเจ้าปู่ถลาหลังใหม่ ตั้งเป้างบประมาณกว่า 20 ล้านบาท มาจากเงินปัจจัยที่เกิดจากพลังศรัทธาไม่ใช้งบประมาณภาครัฐ คาดแล้วเสร็จในปี 2569 เพื่อเฉลิมฉลองครบ 200 ปี อ.เรณูนคร

ด้าน นางสุเพ็ญศรี ยิ่งผล อายุ 79 ปี ที่ชนเผ่าผู้ไทยเรณูนคร เรียกว่า เจ้าจ้ำ หรือร่างทรงปู่ถลา กล่าวว่า ศาลเจ้าปู่ถลา ถือเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาว อ.เรณูนคร ที่เป็นชนเผ่าผู้ไทย เชื่อว่าสามารถคุ้มครองปกปักษ์รักษาให้ประชาชน มีความร่มเย็นเป็นสุข แคล้วคลาดปลอดภัย รวมถึงขอพรให้สมหวังได้ มีหลายคนที่มาขอพรแล้วประสบความสำเร็จ อาทิ การขอให้ลูกหลานสอบเรียนต่อ หรือสอบเข้าทำงานได้ ซึ่งเป็นเรื่องเหลือเชื่อมีหลายคนได้ตามคำขอพรมาแล้ว ทำให้ในทุกปีจะมีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธานำวัวเป็นตัวมาเชือด ถวายแก้บนตามที่ได้ขอพรเจ้าปู่ถลา สมความปารถนา เฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 1 -2 ตัว ยกเว้นวันพระ โดยจะนำมาชำแหละสดๆ นำหัววัว พร้อมด้วย ขาวัว 4 ขา รวมกับหางด้วย ถวายเจ้าปู่ถลาพร้อมทั้งมีลาบเนื้อสดใส่เลือดสดสีแดง จัดพานอาหาร หลังถวายปู่ถลาเรียบร้อย ส่วนที่เหลือจะนำไปแจกจ่ายให้ชาวบ้านลูกหลานกิน ถือเป็นสิริมงคล ตามความเชื่อที่มีมาแต่อดีต

ที่สำคัญตามความเชื่อของชาวเรณูผู้ไทย เจ้าปู่ถลา ยังเป็นที่พึ่งทางจิตใจชองชาวผู้ไทยเรณูนคร และประชาชนทั่วไป ในเรื่องของการขอโชคลาภ ไปจนถึงการขอพรอื่นๆ มักมีคนมาบนบาลศาลกล่าว แล้วแต่ความประสงค์ต้องการ ทำให้ได้ตามประสงค์ส่วนใหญ่ แต่เมื่อได้ดังประสงค์แล้ว ต้องมีการแก้บนด้วยการนำวัวเป็นตัว มาเชือดชำแหละกราบไหว้บูชาแก้บน

นางสุเพ็ญศรี ยิ่งผล กล่าวอีกว่า ส่วนการที่จะเป็นตัวแทน หรือเจ้าจ้ำของปู่ถลา จะต้องสืบทอดมาจากปู่ย่าตายาย และสืบทอดมาจากพิธีกรรมความเชื่อเท่านั้น ขณะที่ตนไม่คิดว่าจะได้มาเป็นตัวแทนเจ้าปู่ถลา แต่เกิดขึ้นจากเรื่องปาฏิหาริย์ ที่เกิดจากความเชื่อ ปกติตนไม่ดื่มเหล้า ไม่ดูดบุหรี่ ไม่กินเนื้อดิบ แต่พอปู่ประทับทรง จะกินทุกอย่างแบบไม่รู้ตัว ถือเป็นประเพณีความเชื่อชนเผ่าผู้ไทย ที่อธิบบายยาก ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลจะมีความเชื่อ ความศรัทธา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook