สงครามชิป ระอุ! ญี่ปุ่น-เนเธอร์แลนด์ ส่อโดดร่วมฝั่งสหรัฐ กีดกันส่งออกจีน

สงครามชิป ระอุ! ญี่ปุ่น-เนเธอร์แลนด์ ส่อโดดร่วมฝั่งสหรัฐ กีดกันส่งออกจีน

สงครามชิป ระอุ! ญี่ปุ่น-เนเธอร์แลนด์ ส่อโดดร่วมฝั่งสหรัฐ กีดกันส่งออกจีน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์มีแนวโน้มเข้าร่วมกับสหรัฐ ในการกีดกันการส่งออกเทคโนโลยีและอุปกรณ์ผลิตชิปไปยังประเทศจีน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ที่มีฐานดำเนินงานในนครนิวยอร์ก ของสหรัฐ รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าว 2 รายที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ว่า เจ้าหน้าที่รัฐของเนเธอร์แลนด์และญี่ปุ่นเดินทางไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐ เพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่ของสหรัฐที่นำโดยนายเจก ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงระดับชาติประจำทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐ เมื่อวันศุกร์ (27 ม.ค.)

ต่อมา ผู้สื่อข่าวถามนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ เมื่อวันเดียวกันนี้ว่า การหารือดังกล่าวมีการพูดุคยเรื่องความตกลงเกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์หรือสารกึ่งตัวนำ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตชิป หรือไม่ นายไบเดนยอมรับ และกล่าวอีกว่าเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ เรื่องที่หารือกัน แต่ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเรื่องลับ

สกัดจีนผงาดอุตสาหกรรมชิป

ที่ผ่านมา มีการรายงานว่าจีนกำลังพัฒนาแสนยานุภาพและเทคโนโลยีทางการทหาร ซึ่งยุทโธปกรณ์เหล่านี้มีหัวใจสำคัญคือชิป และที่ผ่านมารัฐบาลจีนก็ทุ่มเงินอย่างหนักไปกับการสร้างอุตสาหกรรมนี้ในประเทศ 

เอสเอ็มไอซี ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของจีน สามารถผลิตชิปที่ใช้กับอุปกรณ์ไฮเทคหลายอย่าง ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงสมาร์ทโฟนบางรุ่น

ส่วนวายเอ็มทีซี ผู้เล่นรายเดียวของจีนในตลาดหน่วยความจำแบบแนนด์ (NAND) ก็เปิดตัวเซลล์ความจำ 232 ชั้นไปเมื่อปี 2565 ใกล้เคียงกับของซัมซุง จากเกาหลีใต้ ซึ่งตลาดนี้แต่เดิมมีเพียงบริษัทจากสหรัฐและเกาหลีใต้เท่านั้นที่ครองตลาด

ขณะเดียวกัน ซีเอกซ์เอ็มที ผู้ออกแบบและผลิตชิปแบบดีแรม (DRAM) รายเดียวของจีน ก็มีพัฒนาอย่างมาก จนเล่มเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดดังกล่าวจากเดิมที่มีเพียงผู้เล่นจากสหรัฐ เกาหลีใต้ และไต้หวัน เท่านั้น

อย่างไรก็ตามการผลิตชิปของจีนยังต้องพึ่งพาอุปกรณ์ผลิตจากต่างประเทศอย่างมากอยู่ดี

เหตุนี้ทำให้สหรัฐ ที่ถูกมองว่าเป็นประเทศอันดับ 1 ด้านการทหาร ออกมาตรการหลายอย่างมาจำกัดพัฒนาการของจีน อย่างเช่น การห้ามส่งออกอุปกรณ์ผลิตชิปไปยังจีนเมื่อเดือน ต.ค.

มาตรการดังกล่าวจะสมบูรณ์ได้จำเป็นต้องให้เนเธอร์แลนด์และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฐานดำเนินงานหลักของผู้ผลิตเทคโนโลยีชิปรายใหญ่ คือ เอเอสเอ็มแอล และโตเกียว อิเล็กตรอน มาร่วมด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook