100 ปี วันสตรีสากล...บทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของหญิงไทย

100 ปี วันสตรีสากล...บทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของหญิงไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
บทบาทและสิทธิสตรี จึงยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงอย่างกว้างขวางทั่วโลกในปัจจุบัน ประเทศไทยเอง ก็มีการเรียกร้องด้านสิทธิสตรีมายาวนาน ในด้านความเท่าเทียมทางสังคม และสนับสนุนให้ส่งเสริมด้านสิทธิสตรีมากขึ้นในปัจจุบัน เมื่อมองย้อนกลับไปด้านสิทธิของสตรีจะพบว่า ปัจจุบันผู้หญิงได้รับการยอมรับด้านความเท่าเทียมด้านความสามารถทางสังคมมากยิ่งขึ้น และหากมองถึงการเรียกร้องที่ผ่านมา จะพบว่าหญิงไทยเรียกร้องสิทธิของตนเองในหลายประการ จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในปี 2547 ที่สำรวจความคิดเห็นของเพศหญิงถึง สิทธิความเท่าเทียมของ "สตรีไทย ว่าเท่าเทียมกับผู้ชายแล้วหรือไม่? อันดับ 1 ตอบว่า เท่าเทียม ที่ร้อยละ 46.98 เพราะสังคมไทยมีการยอมรับให้ผู้หญิงทำงานในหลายตำแหน่งมากขึ้น มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมผู้ชาย ขณะที่อันดับที่ 2 ยัง มองว่าไม่เท่าเทียมถึงร้อยละ 50.60 เพราะบางอาชีพหรือบางตำแหน่ง ยังไม่ยอมรับให้ผู้หญิงทำได้ หรือมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ความอดทน ฯลฯ แม้ในปี 2547 จะสะท้อนว่าผู้หญิงยังรู้สึกไม่เท่าเทียมในสังคม แต่จากผลสำรวจ ในปี 2552 พบว่าประชาชนในสังคมยอมรับบทบาทของเพศหญิงมากยิ่งขึ้น โดยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่ร้อยละ 32.11 มองว่าผู้หญิงในปัจจุบันมีความเป็นผู้นำ เก่งรอบรู้ มีบทบาททางสังคมมากขึ้น อันดับสองที่ร้อยละ 27.45 มองว่าหญิงไทยสนใจใฝ่หาความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น ฉลาดคิด ฉลาดพูด กล้าคิดกล้าทำ ขณะที่อันดับที่ 3 บอกว่าสตรีไทยควรมีกริยามารยาทที่งดงามและช่วยกันรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยให้มากขึ้น และ ในปี 2553 สวนดุสิตโพล ได้ทำการสำรวจถึงประเด็นความเสมอภาคเท่าเทียมกันของชายและหญิงในสังคมไทย พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 32.18 ระบุเปิดโอกาสให้สตรีมีบทบาททางสังคมเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 23.10 ให้ยอมรับฟังความคิดเห็นของสตรีมากขึ้น ร้อยละ 16.29 ให้มีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน เรื่องความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ร้อยละ 15.07 เปิดโอกาสให้สตรีเป็นผู้นำทางการเมือง และร้อยละ 13.36 กำหนดผลตอบแทน การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งเทียบเท่าผู้ชาย จากผลสำรวจย้อนหลังที่ผ่านมา ทำให้มองได้ว่า บทบาทและสิทธิสตรีเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น แม้จะยังมีการมองว่า มีสตรีบางกลุ่มที่อาจถูกเอารัดเอาเปรียบทางสังคม เนื่องจากสภาพสรีระทางร่างกายที่อ่อนแอกว่าเพศชาย แต่เป็นที่น่าดีใจว่าประเทศไทยได้เปิดโอกาสให้แก่สิทธิสตรีให้เท่าเทียมในการทำงานและการแสดงออกเช่นเดียวกับเพศชาย ในปีนี้ ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมง) ได้คัดเลือกบุคคล หน่วยงาน องค์กรดีเด่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและการคุ้มครองสิทธิสตรี เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม ประจำปี 2553 มีผู้ได้รับคัดเลือก 18 สาขา 41 รางวัล อาทิ สาขาบุคคลเกียรติยศดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและการคุ้มครองสิทธิสตรี ได้แก่ ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย และร.ต.อ.ประชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สาขาสตรีดีเด่นในเวทีเครือข่ายระดับสากล ได้แก่ นางกฤษณา ไกรสินธุ์ คณบดีเกียรติคุณนานาชาติของคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เภสัชกรชาวไทยที่อุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วยในการผลิตยาในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สาขาสตรีดีเด่นด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง ได้แก่ นางศรีณา ดำรงค์ศรี อายุ 46 ปี พนักงานองค์กรของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ออกมาปกป้องสิทธิตัวเองหลังถูกผู้บังคับบัญชาล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานโดยต้องสู้ทั้งทางอาญาและทางวินัย ซึ่งผู้ละเมิดได้รับการลงโทศทางวินัย ถูกตัดเงินเดือน 10% ติดต่อกัน 3 เดือน ที่ผ่านมาสตรีที่ได้รับยกย่องในสาขานี้มาทั้งหญิงสาวปกป้องสิทธิของตัวเองจากการข่มขืนด้วยการกัดลิ้นผู้ชายขาดรวมถึงกรณีของนักศึกษาสาวที่ออกมาเปิดโปงหลังถูกอาจารย์ชายของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งขอมีเพศสัมพันธ์เพื่อแลกกับเกรดที่ดีขึ้น สาขายุวสตรีดีเด่น ได้แก่ น.ส.ปรียาพรรณ ศรีลอย นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ซึ่งเป็นเยาวชนจิตอาสาในสถานศึกษา สาขาบุคคลดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและการคุ้มครองสิทธิสตรี ได้แก่ นายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล อธิบดีผุ้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี และ พล.ต.ท.อมรินทร์ อัครวงษ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สาขาสตรีและองค์กรดีเด่นด้านการส่งเสริมสันติภาพใน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นางวิไล สังข์วิชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี นางนุชนาด จันทรมงคล รองนายกเทศมนตรีเทสบาลเมืองเบตง จ.ยะลา และนางนิเด๊าะ แตแล รองประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดยะลา สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้งหมดจะเข้ารับประกาศเกียรติคุณกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 19 มีนาคม ที่ห้องรอยัลจูบิลี่ อิมแพค เมืองทองธานี นนทบุรี ทั้งหมดนี้เป็นบุคคลในสังคมที่ได้รับการยกย่องและยอมรับจากผลงานที่ทำอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งแยกเพศ ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจว่าประเทศไทยไม่ได้มีการปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก และอาจกล่าวได้ว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถอย่างเท่าเทียม หากสังคมให้โอกาสให้ทุกคนได้แสดงออกถึงประสิทธิภาพของตนอย่างเท่าเทียม เพื่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาประเทศให้เจริญต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook