พม.เปิดตัวนวัตกรรม ระบบบริการล่ามภาษามือ ครั้งแรกในประเทศไทย

พม.เปิดตัวนวัตกรรม ระบบบริการล่ามภาษามือ ครั้งแรกในประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดตัวนวัตกรรม ระบบบริการล่ามภาษามือ ครั้งแรกในประเทศไทย หวังช่วยคนพิการทางการได้ยิน นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวภายหลังการแถลงข่าวเปิดตัวระบบบริการล่ามภาษามือ สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ครั้งแรกในประเทศไทย ว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องจัดให้บริการล่ามภาษามือ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทางการได้ยิน จึงได้เร่งผลักดันให้เกิดระบบบริการล่ามภาษามือที่มีประสิทธิภาพขึ้น โดยระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยบริการล่ามภาษามอ พ.ศ 2552 ได้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2552 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยริเริ่มจัดให้มีระบบบริการล่ามภาษามือ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมบริการทางสังคม โดยมีค่าตอบแทนให้ผู้ปฏิบัติงาน เป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 500 บาท แต่หากเป็นการบรรยายในการสัมมนา หรือเป็นวิทยากร มีค่าตอบแทนชั่วโมงละ 600 บาท หากคนพิการทางการได้ยินมีความประสงค์ขอรับบริการล่ามภาษามือ สามารถยื่นคำขอรับบริการได้ในกรณีต่างๆ ได้แก่ การใช้บริการทางการแพทย์ และการสาธารณสุข การสมัครงาน การร้องทุกข์ การกล่าวโทษ หรือเป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวน และบริการอื่นใด ตามที่คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาล่ามภาษามือประกาศกำหนด โดยในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ต่างจังหวัดให้ยื่นติดต่อขอใช้บริการได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) โดยสามารถขอใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวอีกว่า ผู้ที่จะมาจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือนั้น ไม่จำเป็นต้องเรียนสำเร็จปริญญาใดๆ เพียงเป็นคนที่มีประสบการณ์และทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมคนพิการ สมาคมคนหูหนวก สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่ละจังหวัด ให้การรับรองว่าเป็นคนที่มีความสามารถในการสื่อความหมายทางด้านภาษามือแทนคนพิการทางการได้ยิน ก็สามารถจดทะเบียนได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook