ไอซีที เดินหน้าดัน ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เร่งเจรจา ธนาคารแห่งประเทศไทยลดค่าธรรมเนียมโอนเงินออนไลน

ไอซีที เดินหน้าดัน ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เร่งเจรจา ธนาคารแห่งประเทศไทยลดค่าธรรมเนียมโอนเงินออนไลน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เร่งผลักดันระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เต็มที่หลังปีที่ผ่านมาสร้างมูลค่ากว่า 1,300,000 บาท ล่าสุดเตรียมเจรจาธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างธนาคารพาณิชย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หวังกระตุ้นยอดผู้ใช้งานโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงไอซีทีกำลังผลักดันและสนับสนุนระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีมูลค่าสูงมาก เฉพาะมูลค่าการให้บริการรับชำระเงินแทน หรือ Bill Payment ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทธุรกิจบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และพบว่าในไตรมาส 4 ของปี 2552 มีมูลค่ากว่า 1,345,500 ล้านบาท และเพื่อเป็นการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น กระทรวงไอซีทีได้เสนอให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างธนาคารพาณิชย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ลดลงจากเดิม ให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2553 ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยให้ปริมาณการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในบริการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินการถูกลงและธุรกิจต่างๆก็จะหันมาใช้การโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เช็คที่มีต้นทุนสูงกว่า นอกจากนี้ ยังจะเร่งผลักดันเรื่องการโอนเงินผ่านเช็คให้สามารถเคลียริ่งได้ภายใน 1 วัน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับประโยชน์จากจำนวนวันในการคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะเร่งผลักดันแนวทางดังกล่าวสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในสิ้นปีนี้ เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และจะทยอยดำเนินการได้ครบทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2555 ขณะที่การผลักดันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในภาคธุรกิจ เบื้องต้นมีนโยบายนำร่องร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ด้วยการนำสินค้า OTOP มาจำหน่ายผ่านระบบ อี-คอมเมิร์ซ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ลูกค้าบัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทยฯ และไปรษณีย์ไทยจะรับหน้าที่ในการขนส่งสินค้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook