หมอนัดแต่งดำทั่วประเทศ ท้วงพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

หมอนัดแต่งดำทั่วประเทศ ท้วงพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

หมอนัดแต่งดำทั่วประเทศ ท้วงพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แพทยสมาคมฯ เตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีทบทวนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ หลังแพทย์นัดแต่งดำทั่วประเทศ แนะตั้งไตรภาคีศึกษาข้อดี-ข้อเสีย ก่อนนำเข้าพิจารณาอีกครั้ง ขณะที่เครือข่ายภาคประชาชนเรียกร้องแพทยสภา หยุดให้ร้ายร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

พล.ต.ท.นพ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย นพ.ประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ เลขาธิการฯ และ นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส ผู้รั้งตำแหน่งนายกแพทยสมาคมฯ ร่วมกันแถลงจุดยืนของแพทยสมาคมฯ ต่อกรณีบุคลากรทางการแพทย์จากทั่วประเทศนัดแต่งชุดดำ เพื่อเรียกร้องขอให้มีการทบทวนการออกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... ที่กำลังจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในเร็ว ๆ นี้

พล.ต.ท.นพ.จงเจตน์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารแพทยสมาคมฯ เมื่อวานนี้ (28 ก.ค.) มีมติว่า แพทยสมาคมฯ จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกมาจากการพิจารณาของสภาชั่วคราว ทั้งนี้ เพื่อลดความขัดแย้งซึ่งกำลังเกิดขึ้นในสังคม เนื่องจากร่างฯ ดังกล่าวมีหลายประเด็นไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และทำให้ผลประโยชน์ไม่เกิดกับประชาชนอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันอาจทำให้เกิดผลกระทบกับการบริการสาธารณสุขของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งแพทยสมาคมฯ ไม่อยากลงรายละเอียด เพราะอาจทำให้ถูกมองว่าเลือกข้าง จึงเสนอทางออกให้มีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคีจาก 3 ฝ่าย ประกอบด้วย 1. ตัวแทนจากฝ่ายแพทย์ หรือผู้ให้บริการ 2. ตัวแทนจากผู้รับบริการ หรือเอ็นจีโอ และ 3. คือตัวแทนจากภาครัฐ เพื่อพิจารณาทบทวนร่างฉบับนี้ใหม่ เพื่อให้เป็น พ.ร.บ.ที่สมบูรณ์และเกิดประโยชน์กับประชาชนโดยรวมอย่างแท้จริง

ด้าน นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ประเด็นที่ทำที่ประชุมฯ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีจำนวนมาก เช่น เรื่องการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายยังมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้อีก ซึ่งควรมีการระบุให้ชัดเจนว่าทำได้หรือไม่ ส่วนที่มีผู้กล่าวหาว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยในขณะนี้ เพราะไม่ต้องการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณ สุขนั้น ก็ไม่เป็นความจริง เพราะโรงพยาบาลพร้อมจ่ายเงินสมทบอยู่แล้ว

ขณะเดียวกัน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ พร้อมด้วยนางปรียานนท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และตัวแทนมูลนิธิเพื่อบริโภค จุดเทียนพรรษา 2 เล่ม ที่หน้าป้ายสำนักงานแพทยสภา ที่อาคาร 6 ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหวังให้เป็นแสงเทียนส่องสว่างให้กับแพทยสภา เห็นใจผู้ป่วย และอ่านจดหมายเปิดผนึกต่อหน้าสื่อมวลชน เรียกร้องให้แพทยสภาหยุดให้ร้ายร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข และยื่นสมุดปกขาวชี้แจงข้อเท็จจริงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ให้กับ นพ.อำนาจ กุสลานันท์ อุปนายกแพทยสภา คนที่ 1

นายนิมิตร์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นประโยชน์กับประชาชน และในมาตรา 45 ยังเป็นประโยชน์กับแพทย์ ลดการฟ้องร้อง โดยมีใจความระบุว่า ในกรณีแพทย์ถูกฟ้องอาญา และมีการไกล่เกลี่ยแล้ว แต่ผู้เสียหายต้องการฟ้องร้องต่อ ศาลก็สามารถประนีประนอมยอมความมาพิจารณา เพื่อบรรเทาโทษได้

นพ.อำนาจ กล่าวยืนยันว่า แพทยสภามีเจตนาที่ดีกับประชาชน แต่เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน จึงต้องการให้มีการถอดถอน ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และนำมาปรับแก้ไขใหม่ ก่อนยื่นให้สภาฯ พิจารณา โดยยืนยันแพทยสภามีมติไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว และต้องมีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ใน 4-5 มาตรา ได้แก่ 1.องค์ประกอบของคณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณ สุข ที่อยู่ในมาตรา 7 ที่มีใจความระบุว่าตัวแทนของคณะกรรมการในส่วนของสถานพยาบาลมี 3 คน ซึ่งในความจริงควรเป็นผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัย และมีสัดส่วนอย่าง 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมด 18 คน เพื่อให้การตรวจสอบถูกต้องตามหลักวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ

2.การพิสูจน์ถูกผิดความเสียหายในการรักษาพยาบาล ในมาตรา 5 ที่ระบุว่า ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุน โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด 3.ที่มาของกองทุน ตามมาตรา 22 และ 4.การจ่ายเงินชดเชย ตามหมวดที่ 4 มาตรา 25 ถึง มาตรา 37 ซึ่งเห็นว่าความนำเงินในส่วนของประกันสังคมและสวัสดิการมาจ่ายแทนการเก็บกับ สถานพยาบาล เนื่องจากเกรงเป็นภาระกับโรงพยาบาลรัฐที่ประสบกับปัญหาภาวะขาดทุน และการจ่ายเงินควรจ่ายเป็นก้อน ส่วนการหารือกับปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ได้ข้อยุติเรื่องนี้ ในวันที่ 2 สิงหาคม เตรียมนำมติของแพทยสภาที่ยังคงยืนยันไม่เห็นด้วยกับร่างดังกล่าวไป เสนอ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook