ฝ่ายค้านเตรียมอภิปรายนโยบายนอกสภาพรุ่งนี้

ฝ่ายค้านเตรียมอภิปรายนโยบายนอกสภาพรุ่งนี้

ฝ่ายค้านเตรียมอภิปรายนโยบายนอกสภาพรุ่งนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กกต.ยกคำร้องการเกณฑ์ทหาร อภิสิทธิ์ แล้ว เหตุหนีทหารไม่เข้าข่ายต้องห้ามในการสมัครเป็นส.ส. สั่ง ผอ.เขตเน้นย้ำประชาสัมพันธ์เลือกตั้งซ่อม สุริยะใส เชื่อ ทักษิณ ไม่เจรจา ถ้าไม่ได้ประโยชน์ ประธานวิปฝ่ายค้านเผยเตรียมอภิปรายนโยบายนอกสภา นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากกต.ได้มีการประชุมพิจารณากรณีคำร้องของ กลุ่มผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนร่วมปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตย ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อาจขาดคุณสมบัติการเป็นส.ส. ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากไม่ได้ผ่านการเกณฑ์ทหาร โดยกกต.ได้พิจารณาเห็นควรให้ยุติเรื่องและยกคำร้อง เนื่องจากข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ได้อยู่ในบทบัญญัติต้องห้ามการสมัคร ส.ส. จึงไม่ได้เป็นเหตุให้การเป็นสมาชิกภาพของ ส.ส.สิ้นสุดลง ซึ่งสมาชิกภาพส.ส.จะสิ้นสุดนั้นกฎหมายได้กำหนดว่า ต้องมีโทษจำคุก หรือถูกไล่ออกจากตำแหน่งราชการเพราะเรื่องทุจริต ดังนั้นกรณีของนายอภิสิทธิ์ จึงยังไม่เข้าข่ายต้องห้าม เมื่อสมาชิกภาพของส.ส.ยังไม่สิ้นสุดลงความเป็นนายกรัฐมนตรีก็ถือว่ายังไม่ สิ้นสุดด้วย ซึ่งกกต.ก็ได้พิจารณาเห็นว่าควรยุติเรื่อง จึงให้ยกคำร้อง จึงไม่มีเหตุที่ต้องส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา นายประพันธ์ กล่าว ประพันธ์ สั่ง ผอ.เขตเน้นย้ำประชาสัมพันธ์เลือกตั้งซ่อม เมื่อเวลา 09.30 น. นายประพันธ์ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า ส.ส.กทม. เขต 10 ที่สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ และสำนักงานเขตทุ่งครุ ซึ่งได้มีการฟังบรรยาย และ ตรวจเยี่ยมหน่วยเลือกตั้งที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า ส.ส. พร้อมกับได้ตรวจสถานที่เก็บหีบบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าว่ามีการเก็บรักษาใน สถานที่ปลอดภัยหรือไม่ โดยนายประพันธ์ ได้เน้นย้ำให้มีการประชาสัมพันธ์การลงคะแนนทั้งการเลือกตั้ง ส.ส.และผู้ว่า กทม. ให้ทั่วถึง ป้องกันการสับสนของประชาชน รวมถึงให้ช่วยดูแลเรื่องการนับคะแนน เพราะการนับคะแนนจะแตกต่างกัน จากนั้นนายประพันธ์ กล่าวว่า การเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวานนี้ (3 ม.ค.) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้าเปรียบเทียมผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวานนี้มีผู้ออกมาใช้ สิทธิเลือกตั้งมากกว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 15 ธ.ค. 50 แต่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีผู้มาใช้สิทธิน้อยกว่า คาดว่าประชาชนคงจะเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่ในต่างหวัดโดยเฉพาะบุรีรัมย์ อุดรธานีมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก ถึงกับต้องเข้าคิวลงคะแนน ผู้สื่อข่าวถามว่า การเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 11 ม.ค.จะทำให้ประชาชนสับสนกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า คิดว่าไม่น่าจะสับสน เพราะได้พูดคุยกับผู้อำนวยการเขตของเขต 10 กทม. ให้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิ์ โดยจัดเต็นท์ให้อยู่ใกล้กัน และมีป้ายประชาสัมพันธ์บอกชัดเจน รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่คอยบอกอยู่แล้ว คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ทั้งนี้ บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งส.ส.และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ผู้ว่ากทม.จะแตกต่างกัน โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งส.ส.ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง 90 วัน ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส.ส.ต้องมีชื่ออยู่ในเขตนั้นเป็นเวลา 1 ปี ดังนั้น การเลือกตั้งในวันที่ 11 ม.ค. จะไม่ใช่เป็นการรับบัตรเลือกตั้งทีเดียว 2 ใบ แต่รับบัตรคนละชุดและลงคะแนนคนละครั้ง เมื่อถามว่า เป็นห่วงการเลือกตั้งในพื้นที่ กทม. ที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิน้อย เพราะเบื่อหน่ายกับการเมืองหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า เชื่อว่าการเลือกตั้งในวันที่ 11 ม.ค.จะมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าครั้งก่อนๆ โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.มีผู้ออกมาใช้สิทธิร้อยละ 54 ส่วนส.ส.กทม.เขต 10 มีผู้ออกมาใช้สิทธิร้อยละ 67 และเมื่อเทียบการเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวานนี้ก็มีผู้ออกมาใช้สิทธิมากกว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อปี 2550 จึงคิดว่าการเลือกตั้งในวันที่ 11 ม.ค.จะมีผู้ออกมาใช้สิทธิจำนวนมาก ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ได้ลงพื้นที่จ.นครพนม เรียกประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อมอบนโยบายแก่ผู้นำท้องถิ่น ซึ่งอาจจะคาบเกี่ยวกับการเลือกตั้งส.ส.ครั้งนี้ นายประพันธ์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะใช้ตำแหน่งของตัวเองไปใช้หาเสียงเลือก ตั้งไม่ได้ บางครั้งรัฐมนตรีอาจลงพื้นที่ไปตรวจงานแต่จะใช้ตำแหน่งเพื่อเป็นคุณเป็นโทษ กับการเลือกตั้งไม่ได้ ส่วนการลงพื้นที่ของนายบุญจงจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้สมัครหรือไม่ต้องดูข้อ เท็จจริงก่อน หากเป็นการเรียกประชุมตามปกติก็ไม่มีปัญหา แต่หากมีการพูดถึงผู้สมัครเลือกตั้งรายใด หรือพรรคใดก็อาจมีปัญหาได้ ส่วนจะเป็นการเหมาะสมหรือไม่ก็ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อถามว่า ในวันเดียวกันนั้นรัฐมนตรีมีการมอบนโยบาย และช่วงเย็นมีการปราศรัยในพื้นที่ดังกล่าว จะเป็นการแอบแฝงในการช่วยเหลือผู้สมัครหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่หากมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาทางกกต.ก็พร้อมเข้าไปตรวจสอบ โดยกกต.มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังในการปราศรัยหาเสียงอยู่แล้ว แต่คงไม่ฝากเตือนไปถึงรัฐมนตรี เพราะโดยหลักผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะใช้ตำแหน่งเพื่อช่วยผู้สมัครไม่ได้ อยู่แล้ว แต่หากลงพื้นที่ไปช่วยหาเสียงโดยใช้ฐานะหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรค นั้นๆ ก็สามารถทำได้ เมื่อถามว่า กลุ่มคนเสื้อแดงจังหวัดร้อยเอ็ดรวมตัวประท้วง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่ เพราะอาจทำให้คะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ลดลง นายประพันธ์ กล่าวว่า ต้องดูข้อเท็จจริงก่อนว่าเป็นการกระทำที่ขัดขวางหรือเข้าไปเป็นคุณเป็นโทษใน ลักษณะดังกล่าวหรือไม่ เพราะผู้ที่มาชุมนุมจะเข้าไปขัดขวาง หรือชูป้ายประท้วงเพื่อขัดขวางการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งไม่ได้ ตนคิดว่าคงไม่มีใครไปทำอย่างนั้น ทั้งนี้ หากมีการกระทำดังกล่าวในบริเวณหน่วยเลือกตั้งผู้อำนวยการเขตเลือกตั้งสามารถ ใช้อำนาจสั่งให้ผู้ชุมนุมออกนอกพื้นที่หน่วยเลือกตั้ง และหากมีการฝ่าฝืนก็สามารถแจ้งตำรวจให้ดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ขอเรียกร้องไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมอย่าทำการขัดขวางผู้มาใช้ิทธิ์เลือกตั้ง ส่วนจะเป็นการจูงใจและอาจะให้ต้องเสียคะแนนนิยมหรือไม่ ต้องดูข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไปว่ามีการกระทำในลักษณะดังกล่าว หรือชูป้ายประท้วงเพื่อไม่ให้เลือกคนจากพรรคประชาธิปัตย์จริงหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าว นายประพันธ์ กล่าวถึงการตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้สมัครส.ส.ใน 26 เขต 22จังหวัด ว่า ขณะนี้ได้มีรายงานผู้สมัครเลือกตั้งส.ส.ขาดคุณสมบัติเพียง 3 ราย บางรายขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และบางรายก็มีชื่อเป็นสมาชิกพรรคซ้ำกัน 2 พรรค ซึ่งผู้ที่ผอ.เขตไม่ประกาศให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นผู้สมัครที่ไม่ถูกประกาศชื่อให้เป็นผู้สมัครก็สามารถร้องเรียนไปที่ ศาลฎีกา เพื่อวินิจฉัย เมื่อถามว่า ในจังหวัดลพบุรีมีปัญหาเรื่องผู้สมัครสังกัดสมาชิกพรรคความหวังใหม่ แต่ภายหลังตรวจสอบพบว่าสังกัดพรรคประชากรไทยด้วย ซึ่งทำให้ประชาชนสับสน นายประพันธ์ กล่าวว่า กกต.จว.ลพบุรีกำลังตรวจสอบอยู่ ยังไม่ทราบว่าผลจะเป็นอย่างไร ส่วนจะแก้ปัญหาการสับสนของประชาชนอย่างไรนั้นก็ยังไม่ทราบรายละเอียด ทั้งนี้ การเลือกตั้งใน 26 เขตเลือกตั้ง ยังไม่ปรากฏว่ามีการรายงานเหตุรุนแรงเข้ามา นายประพันธ์ ยังกล่าวถึงการสำรวจความเห็นประชาชนหรือการทำโพล ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งส.ส.และผู้ว่ากทม. ว่า การทำโพลในช่วงนี้ถือเป็นโค้งสุดท้าย ดังนั้น ขอร้องอย่าเปิดเผยผลโพลช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนถึงวันเลือกตั้งทั้งการเลือกตั้งส.ส.และเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบได้เสีย หรือจูงใจผู้มาใช้สิทธิได้ นอกจากนี้ยังอยากจะขอผู้ที่จะทำแบบสำรวจความเห็นของประชาชนที่เข้าไปใช้ สิทธิ์แล้วที่หน้าหน่วย หรือ เอ็กซิสโพล ในวันที่ 11 ม.ค. กกต.ไม่ได้ห้ามแต่อย่างเข้าไปถามกันที่หน้าหน่วยเลือกตั้ง เพราะอาจจะเป็นการขัดขาวงและอาจจะเป็นการชี้นำได้ ซึ่งกกต.ก็มีความเป็นห่วงว่าการทำเอ็กซิสโพลซึ่งจะมีผลกระทบต่อคะแนนเสียง เลือกตั้ง สุริยะใส เชื่อ ทักษิณ ไม่เจรจาถ้าไม่ได้ประโยชน์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า เชื่อว่าแรงต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากระบอบทักษิณจะเข้มข้นและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทั้งในสภาและนอกสภา เพราะในช่วงที่พรรคนอมินีระบอบทักษิณถืออำนาจก็ยังแสดงความก้าวร้าวให้สังคม เห็น ยิ่งมาเป็นฝ่ายค้านยิ่งเป็นไปได้สูงที่จะต่อต้านรัฐบาลสารพัดวิธี การโทรศัพท์ข่มขู่นายกฯ เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงเพราะมีการแจกเบอร์นายกฯ ให้กับเครือข่ายผ่านวิทยุชุมชนและกลุ่มคนขับรถแท็กซี่บางกลุ่ม รวมทั้งมีการโพสท์เบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ของแกนนำขึ้นในเว็บไซด์เครือข่าย ระบอบทักษิณ ในช่วงพันธมิตรฯ ชุมนุมแกนนำหลายคนก็โดนขู่ฆ่ารายวัน การชุมนุมใหญ่และยืดเยื้อรูปแบบพันธมิตรฯ นั้นกลุ่ม นปช.คงไม่มีศักยภาพ แต่คงใช้รูปแบบจัดชุมนุมย่อยๆ ตามสถานการณ์เพื่อสร้างความปั่นป่วนให้กับรัฐบาลแทน เพราะวิธีการดังกล่าวใช้คนไม่ต้องมากแต่เน้นปฏิบัติการที่รุนแรงเพื่อเรียก ความสนใจจากสังคม ตรรกของรัฐบาลที่เน้นการเจรจากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อความสมานฉันท์และร่วมกันแก้ปัญหาบ้านเมืองนั้นเป็นตรรกที่ผิด แม้จะตั้งใจดีแต่คงไม่มีประโยชน์อะไรเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่ยอมเจรจาถ้าไม่ได้ประโยชน์ หากจะเจรจาจะยังไม่ใช่ตอนนี้ จนกว่า นปช.และพรรคเพื่อไทยจะเพลี่ยงพล้ำทางการเมือง เพราะในขณะนี้อำนาจต่อรองของระบอบทักษิณยังอยู่ในระดับที่สร้างความปั่นป่วน ให้กับรัฐบาลทั้งในสภาฯ และนอกสภาฯ การเจรจาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอาจทำให้สังคมเคลือบแคลงว่าจะ เป็นการฮั๊วกันทางการเมืองได้ หรือไม่อาจจะเป็นการท้าทายและหมิ่นเหม่ต่อคำพิพากษาของศาลได้ เพราะ พตท.ทักษิณ มีคำพิพากษาติดตัวและอยู่ในฐานะผู้ร้ายหนีอาญาแผ่นดิน หนทางเดียวที่จะริเริ่มสมานฉันท์ได้ต้องทำให้กระบวนการยุติธรรม เข้มแข็ง ตราบใดที่คนผิดและถูกคำพิพากษาของศาลแต่ไม่ยอมรับผิดและยังต่อต้านคำพิพากษา ของศาลบ้านเมืองก็สมานฉันท์ลำบาก ประการสำคัญกระบวนการยุติธรรมต้นทางทั้งตำรวจและอัยการบางส่วนสร้างปัญหาให้ กับบ้านเมืองมามาก รัฐบาลต้องกล้าริเริ่มที่จะวางแผนปฏิรูปอย่างจริงจัง กรณีของรัฐตำรวจที่เป็นสิ่งปฏิกูลจากระบอบทักษิณต้องริเริ่มรื้อ ถอนเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยเฉพาะการเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ปราบปรามประชาชน 7 ตุลา นั้น พยานหลักฐานและผลสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกรรมาธิการสอบสวน ของวุฒิสภา เพียงพอที่รัฐบาลจะดำเนินการเอาผิดนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่โยกย้าย ไล่ออกหรือเอาผิดทางวินัยไว้ก่อน ไม่จำเป็นต้องรอการชี้มูลจาก ปปช.เพราะ ปปช.ชี้มูลในเรื่องความผิดอาญาและวินัยร้ายแรงเป็นหลัก ประธานวิปฝ่ายค้านเผยเตรียมอภิปรายนโยบายนอกสภา นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการอภิปรายนโยบายรัฐบาลนอกรัฐสภาในวันที่ 5 ม.ค.ในเวลา 09.30 น.ว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านจะวิเคราะห์นโยบายรัฐบาล ความจริงนั้นพวกตนจะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2551 แล้ว แต่รัฐบาลไม่ได้เปิดโอกาส แต่พวกตนก็จะใช้วันเวลาดังกล่าวให้ประชาชนรับทราบ เฉลิม เตรียมอภิปรายนอกสภา เมื่อเวลา 13.00 น.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมพรรคในการเตรียมความพร้อมการจัดงานสัมนาอภิปรายนอก สภาของพรรคฝ่ายค้านว่า รูปแบบการอภิปรายนั้นจะวิจารณ์นโยบายรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่กลับไปแถลงที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยพรรคฝ่ายค้านไม่ได้ร่วมประชุมด้วย เพราะไม่เห็นด้วยกับวิธีการ แต่รัฐบาลมั่นใจว่าเป็นความสง่างามหรือไม่ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล พรรคมอบให้ผมอภิปรายคนแรก ผมอ่านนโยบายรัฐบาลชุดนี้โดยเฉพาะกฎ 9 ข้อที่นายกฯระบุไว้ให้ ครม.ปฏิบัติตานนั้น ในทางการเมืองว่านายกฯไม่ไว้ใจ ครม.จึงออกกฎมาบังคับ โดยเฉพาะข้อ 9 ที่ระบุว่าห้ามทำตัวเหนือประชาชน แสดงว่านายกฯไม่ค่อยได้อ่านรัฐธรรรมนูญ เพราะมาตรา 4 บอกว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวและว่า รัฐบาลกำหนดสี่ภารกิจหลักและนโยบายอีกแปดข้อ รวมทั้งนโยบายด้านเศรษฐกิจเร่งด่วนแต่มันไร้ทิศทางไม่คมชัด อีกทั้งรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแรกที่ไม่ได้ระบุนโยบายปราบายเสพติดเลม่คิดเลยว่ารัฐบาลนี้จะกล้าหาญเพียงนี้ที่ไม่ได้ระบุนโยบายนี้เอาไว้ อีกทั้งการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยที่รัฐบาลระบุว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ระบุเป้าหมายที่ชัดเจน น่าเสียดาย ถ้าสามารถประชุมด้วยกันได้ ก็จะได้วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์โดยจะวิเคราะห์ตามนโยบายที่รัฐบาลเขียนไว้ จะไม่มีโวหารอย่างพรรคประชาธิปัตย์เคยทำ โดยเฉพาะในเรื่องการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำมีการเขียนไว้ว่าจะทำให้เสร็จภายใน สิ้นเดือน ม.ค. 2552 เสนอมาได้อย่างไร เหมือนไม่ได้อ่าน นี่ต้นเดือน ม.ค.แล้วสิ้นเดือน ม.ค.จะทำทันได้อย่างไร เทวดามาช่วยก็ยังไม่ทัน หลายๆเรื่องได้หาเสียงจะทำเมกกะโปรเจค จะมีรถไฟฟ้า 3 สาย 5 สาย แต่ในนโยบายไม่มีใส่ไว้ รายละเอียดรอฟังวันพรุ่งนี้( 5 ม.ค.) เมื่อถามว่าจะอภิปรายโดยเน้นจุดใดบ้าง ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า รัฐบาลบอกว่าจะเน้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยจะกระตุ้นและเพิ่มการลงทุน แต่รัฐบาลไม่ได้กำหนดเป้าหมายการแก้ไขในภาพรวมนั้น ไม่ถือว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นสหรัฐอเมริกานั้น นำเงินมาแก้ไขปัญหาการว่างงาน และภาคการผลิตรถยนต์ แต่รัฐบาลนี้กลับไม่พูดอะไรชัดเจน บอกเพียงว่าจะฝึกคนว่างงานห้าแสนคนแต่ไม่ได้บอกว่าคนเหล่านี้จะไปทำงานที่ใด เพราะตนได้รับสถิติคนว่างงานนั้นมีหนึ่งล้านสองแสนคน เมื่อถามว่า นโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดนี้คล้ายว่าจะนำนโยบายของพรรคพลังประชาชนมาใช้ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ตนไม่อยากวิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ เพราะรัฐบาลชุดนี้บอกกับสังคมว่านโยบายที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯทำมาตั้งแต่ต้นนั้นดีแก้ไขปัญหารากหญ้าและคนจน สำคัญที่สุดคือ ขอบอกกับนายอภิสิทธิ์ว่ามาตรการหกเดือนฯที่รัฐบาลชุดที่แล้วดำเนินการไว้ ไม่ใช่นโยบายที่นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯคิด แต่พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้คิด ช่วงนั้นตนเป็นรมว.มหาดไทย ได้นำข้อมูลนี้มาให้นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกฯและนำเสนอครม. กราบเรียนพรรคประชาธิปัตย์ด้วยความเคารพว่าคิดใหม่เสียในส่วนนี้เพราะนโยบาย ดังกล่าวนั้น พรรคประชาธิปัตย์บอกว่าผิดวินัยทางการเงินการคลังแต่วันนี้กลับเห็นดีเห็น งาม หัดอับอายเสียบ้าง หากจะนำไปใช้นั้นก็ขอให้รู้ว่าพ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนคิดไม่ใช่รัฐบาลของนาย สมัครเป็นผู้คิด นายสมัครคิดเพียงรถไฟใต้ดินเสริมไปเท่านั้น ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า เมื่อถามว่าการอภิปรายครั้งนี้จะต้องระวังเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะไม่มีเอกสิทธิคุ้มครองส.ส. ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ถูกต้องเพราะอาจจะโดนฟ้องหมิ่นประมาทได้ เช่นกรณีที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศไปแสดงความเห็นในบางรายการ หากนำมาเปิดเผยนายกษิตคงต้องมุดใต้ถุนเพราะเคยไปวิจารณ์ผู้นำประเทศเพื่อน บ้าน ตรงนี้ปฏิเสธและเถียงไม่ได้เพราะหลักฐานมันชัดเจน ส่วนกรณีที่รัฐบาลจะเจรจากับอดีตนายกฯเพื่อให้ความขัดแย้งในบ้าน เมืองยุตินั้น ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านก็พูดเสมอว่าทำไมไม่นำตัวอดีตนายกฯกลับ มาดำเนินคดี การพูดแบบนี้มันคือความไม่เข้าใจ เพราะการขอตัวนั้นเป็นหน้าที่อัยการสูงสุดและตามกฎบัตรของยูเอ็นไทยเป็น หนึ่งในประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่กฎบัตรข้อ 14 ( 5 )นั้นระบุว่าหากมีการตัดสินเพียงศาลเดียวก็ไม่สามารถส่งตัวกลับมาดำเนินคดี ได้เมื่อได้มาเป็นรัฐบาลก็รู้ว่าทำไม่ได้จึงใช้วิธีเจรจาหวังสร้างภาพ เพิ่งเป็นนายกฯใครจะไปลอบทำร้าย ไม่มีใครคิดฆ่า แต่ตนดูนโยบายรัฐบาลแล้ว นายกฯแค่เรียนเก่งทำงานเป็นหรือไม่ก็ไม่รู้ บอกว่าจะแกไขปัญหาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้เสร็จในเดือนนี้ จะทำอย่างไร หากอยู่ใกล้จะเอาไม้เรียวตีคนละสามที ทำไมยาเสพติดไม่คิดแก้ไข ช่วงหาเสียงบอกจะสร้างรถฟ้าสีต่างๆแต่เอาเข้าจริงกลับไม่มีเสียอย่าง ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว เฉลิม หารือ เสนาะ ชวนร่วมวงอภิปราย เมื่อเวลา 14.00น.ที่บ้านเมืองทองธานี ร.ต.อ.เฉลิม นายวิทยา เข้าอวยพรปีใหม่นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ที่บ้านพักเมืองทองธานี ร.ต.อ.เฉลิม ให้สัมภาษณ์ว่า การมาครั้งนี้เพื่อพูดคุยเรื่อการเมืองทั่วไป และการประชุมพรรคเพื่อไทย เพื่ออภิปรายนโยบายรัฐบาลนอกสภาในวันที่ 5 ม.ค. ที่รร.มิราเคิลแกรนด์ โดยจะเชิญนายเสนาะ ไปร่วมประชุมด้วย เพราะนายเสนาะ เป็นผู้ใหญ่ และเป็นหลักของฝ่ายค้าน เมื่อสภาฯเปิดสมัยประชุมการดำเนินการในเรื่องต่างๆจะต้องมีการประสาน งานอย่างใกล้ชิด "การพูดคุยวันนี้เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ทาง การเมือง โดยคิดว่าความชัดเจนทางการเมืองจะมีขึ้นหลังเดือนม.ค.2552 ไปแล้ว หลังจากนั้นเราจำเป็นต้องประสานกันมากขึ้น อีกทั้งกรณี สปก.4-01 ที่พรรคประชาธิปัตย์ถูกอภิปรายจนต้องยุบสภาไปสมัยที่เคยเป็นรัฐบาลนั้น ไม่ใช่ฝีมือของนายเนวิน ชิดชอบ แต่เป็นฝีมือของนายเสนาะ เทียนทอง ในฐานะหัวหน้าทีมฝ่ายค้านในขณะนี้ โดยมีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นผู้นำฝ่ายค้าน" เมื่อถามว่าโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะอภิปรายล้มรัฐบาลเช่นในอดีตที่ผ่านมามี ความเป็นไปได้หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เรื่องการเมืองขึ้นอยู่กับสถานการณ์และข้อเท็จจริง ซึ่งเรายังไม่ได้คิดอย่างนั้น และเราจะไม่กำหนดว่าเราจะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายเมื่อไร เนื่องจากสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลงได้ทุกขณะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook