นายกเผยชิลีขอบคุณไทยส่งวิศวะช่วยคนงาน

นายกเผยชิลีขอบคุณไทยส่งวิศวะช่วยคนงาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ก่อนการเข้าร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 18 ณ เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ได้พบและหารือข้อราชการกับ นายเซบัสเตียน ปิเญร่า เอเซนีก ประธานาธิบดีสาธารณรัฐชิลี ซึ่งผู้นำชิลี ได้ชื่นชมและขอบคุณไทย ที่ส่ง 2 วิศวกร ไปร่วมในปฏิบัติการช่วยเหลือคนงานที่ติดอยู่ใต้เหมือง และได้สอบถามถึงความเหมือนและต่าง ในการรวมตัวของ อาเซียนและอียู ซึ่งตนได้ชี้แจงว่า อียู เป็นการรวมตัวในลักษณะของสหภาพ แต่ อาเซียน เป็นการรวมตัวในลักษณะของประชาคม ที่เน้นความร่วมมือของชาติสมาชิก

อย่างไรก็ตาม นอกจาก 10 ชาติสมาชิกอาเซียน ก็มีความร่วมมือกรอบอื่น ๆ ด้วย เช่น เกาหลี จีน และญี่ปุ่น ขณะที่ในส่วนของไทยเอง ก็ต้องการจะขยายความร่วมมือธุรกิจกับชิลีด้วยเช่นกัน นอกเหนือจาก การผลักดันเปิด เอฟทีเอ เช่น การใช้ช่องทางสภาธุรกิจไทย-ลาติน โดยในโอกาสพบกันครั้งนี้ ยังได้หยิบยกเรื่องค่าเงินผันผวนและเปลี่ยนทัศนะ ซึ่งส่วนของไทย เห็นว่า ไม่ได้เกิดจากปัญหาค่าเงินบาท แต่เกิดจาก ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า ดังนั้น แนวทางแก้ไขอาจมีการพิจารณาเรื่องการสำรองเงินตราต่างประเทศ โดยเพิ่มเงินสกุลอื่น ๆ มาแทนเงินดอลลาร์สหรัฐ ให้มากขึ้น


ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มีการพบปะหารือกับ นายเซบัสเตียน ปิเญร่า เอเซนีก ประธานาธิบดีชิลี โดยนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย อาจกระทบต่อจีดีพี ประมาณร้อยละ 0.3 ซึ่งทำให้อัตราที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 8 กลับไปอยู่ที่ ร้อยละ 7.7 ซึ่ง ผู้นำชิลี ได้แสดงความชื่นชมว่า ตัวเลขดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมภาพรวมของเศรษฐกิจโลกโดยรวม เนื่องจากปีหน้า คาดการณ์ว่า อัตราเศรษฐกิจของโลก อยู่ที่ร้อยละ 4

ขณะที่ต่อมา นายกรัฐมนตรี ยังได้หารือทวิภาคีกับ นายอลัน การ์เซีย เปเรซ ประธานธิบดีสาธารณรับเปรู ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย
แสดงความพอใจว่า 9 เดือนที่ผ่านมา ตัวเลขการค้าระหว่างกันเพิ่มมากกว่าร้อยละ 250 แต่ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นตรงกันว่า จะแสวงหาความร่วมมือ เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าต่อกันอีก ซึ่งกรอบการค้าระหว่างไทยและชิลี กำลังเข้าสู่การพิจารณาเพื่อขออนุมัติรัฐสภา ตามมาตรา 190 ประมาณสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพรวมในเวทีเอเปก นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำจุดยืนอีกครั้งว่า เวทีเอเปก ไม่ควรเน้นการเติบโตเพียงเพื่องการค้า แต่ควรเน้นเรื่องความสมดุลในมิติทางสังคมด้วยเช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook