นายกโยนสภาชี้ขาดรธน.ม.190ย้ำไม่สอดไส้

นายกโยนสภาชี้ขาดรธน.ม.190ย้ำไม่สอดไส้

นายกโยนสภาชี้ขาดรธน.ม.190ย้ำไม่สอดไส้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ขอให้ถอนร่างบันทึกผลการประชุม ของคณะกรรมาธิการเขตแดนไทยกัมพูชา หรือ เจบีซี และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ออกจากการพิจารณาของรัฐสภาว่า ทราบ
ดีว่ามีความห่วงใย ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ที่ทางกลุ่มพันธมิตรฯ มีความเข้าใจว่า อาจจะมีการสอดไส้แก้ไขเป็นอย่างอื่น ซึ่งส่วนตัว ได้มีการชี้แจงไปแล้ว และขอยืนยันว่า การพิจารณาเรื่องกรอบเจรจา เจบีซี และเรื่องของเขตแดน จะต้องเดินหน้าต่อไป และต้องนำเข้าพิจารณาในรัฐสภา ตามมาตรา 190

ทั้งนี้หากรัฐสภา มีการรับหลักการร่างการแก้ไขมาตรา 190 เข้าใจว่าการประชุม ในชั้นกรรมาธิการ น่าจะมีความชัดเจน ก่อนการชุมนุม ของการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่นัดชุมนุมกันในวันที่ 11 ธ.ค. ซึ่งยืนยันว่าการแก้มาตรา 190 เป็นการแก้เพื่อ ให้มีหลักในการทำงานทุกอย่าง ตรวจสอบได้ ไม่มีอะไรเสียหายต่อบ้านเมือง แต่กลับกัน จะทำให้การบริหารบ้านเมือง เป็นไปได้ด้วยดี นอกจากนี้ ร่างของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 หรือ คปพร. ที่กลุ่มพันธมิตร เป็นกังวลก็ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ไม่จำเป็นต้องมีการเปิดการประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ 2 และวาระ 3 ทั้งนี้ จากการพูดคุยกับวิปรัฐบาล ก็เห็นว่าสามารถพิจารณาในการ ประชุมสมัยหน้าได้

นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การแถลงปิดคดีด้วยวาจา ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีเงินสนับสนุนพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ ได้แถลงปิดคดีด้วยวาจาในวันที่ 29 พ.ย.ว่า ส่วนตัว จะไปร่วมการแถลงปิดคดีด้วย แต่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค จะเป็นผู้แถลงปิดคดี ทั้งนี้ ยอมรับว่า เป็นห่วงเรื่องการชุมนุมในวันดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่ จะรับผิดชอบดูแล นอกจากนี้ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. จะติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดด้วย และได้มีการกำชับให้กับ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไปดูแลความปลอดภัย ให้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนหนังสือความดีสู้อธรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีภาพของตนบนหน้าปกนั้น เป็นหนังสือชี้แจงคดี ไม่ได้เป็นการทำเพื่อกดดันศาล อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึง กรณีที่มีการแต่งตั้ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กลับมาเป็น รองนายกรัฐมนตรี ความมั่นคง แต่ไม่ได้มีการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. แทน พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ว่า เป็นเพราะ พล.อ.ประวิตร ทำงานเรียบร้อยดีอยู่แล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook