เวิลด์แบงก์เผย กทม.เสี่ยงจมน้ำอีก 10 ปีข้างหน้า

เวิลด์แบงก์เผย กทม.เสี่ยงจมน้ำอีก 10 ปีข้างหน้า

เวิลด์แบงก์เผย กทม.เสี่ยงจมน้ำอีก 10 ปีข้างหน้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เปิดเผยว่า หน่วยงานได้ศึกษาสร้างแบบจำลองผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมและน้ำทะเลขึ้นสูงในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในและปริมณฑล หลังจากได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) และร่วมศึกษากับคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) พบว่า กทม. เป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชีย ที่มีความเสี่ยงสูงจากน้ำทะเลเอ่อทะลักเข้าท่วมในเมือง จาก 9 เมืองที่มีความเสี่ยงประกอบด้วย เซี่ยงไฮ้ และกวางตุ้ง ประเทศจีน, ธากา ประเทศบังกลาเทศ, กัลกัตตา และมุมไบ ประเทศอินเดีย, ย่างกุ้ง ประเทศพม่า, ไฮฟอง และโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และกรุงเทพมหานคร

ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใน กทม.ชั้นใน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปัจจุบัน, แผ่นดินในพื้นที่ทรุดตัวปีละ 4 มิลลิเมตร, ระดับน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยสูงขึ้น 1.3 เซนติเมตรต่อปี และ ภาพรวมของระบบผังเมืองใน กทม.ที่พบว่ามีพื้นที่สีเขียวลดลงไปกว่า 50% ซึ่งในปัจจุบันมีประชากรในเขต กทม.ประมาณ 680,000 คน จะได้รับผลกระทบจากน้ำเอ่อท่วมอาคารประมาณ 1.16 ล้านหลัง แบ่งเป็นบ้านพักที่อยู่อาศัย 9 แสนหลังคาเรือน โดย 1 ใน 3 จะอยู่ในพื้นที่บางขุนเทียน, บางบอน, บางแค และพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ทั้งนี้ยังพบว่าอาคารและที่พักอาศัยในเขตดอนเมืองราว 89,000 อาคารจะได้รับผลกระทบด้วย โดยรวมความเสียหายทั้งหมดจะมีมูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านบาท

หลังจากธนาคารโลกได้รับผลวิจัย ทางการได้ทำเรื่องส่งให้ผู้บริหารกทม. สมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ แต่ยังไม่ได้รับการดำเนินการใดๆ ทั้งที่ผลวิจัยได้เสนอวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเอาไว้ 3 ทาง คือ เร่งหาพื้นที่แก้มลิงเหนือเขตกทม. ตั้งแต่สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เพื่อเป็นที่ระบายน้ำ, เร่งขุดขยายคลองระบายน้ำที่มีอยู่เวลานี้โดยเร็ว และต้องสร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ระยะทาง 80 กิโลเมตร เพื่อป้องกันน้ำเอ่อทะลักเข้ามาในเขตพื้นที่ กทม. โดยประเทศเวียดนามได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook