เปลี่ยนโลกสาธารณสุข

เปลี่ยนโลกสาธารณสุข

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ถึงจะก้าวด้วยทีท่าไม่รีบเร่ง แต่เมื่อขีดเส้นลากจากจุดเริ่มต้นถึงวันนี้ ราว2ปีแล้ว ที่ โครงการ "การสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน (SHA)" ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุขในแบบที่อยากเห็น
อย่างที่รู้กันว่าในหลักการที่ว่าด้วยการพัฒนามิติของจิตใจควบคู่กับมิติทางการแพทย์ ที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วางไว้ร่วมกันนั้นไม่ง่ายเลยในความเป็นจริง

อย่างไรก็ตาม แม้ดูเป็นเรื่องนามธรรม หากเมื่อผนวกมุมมองของคนทำงานสุขภาพในโครงการ SHA ที่เห็นว่าการสาธารณสุขที่ดีต้องมองให้ลึกไปกว่าอาการเจ็บป่วย รวมเข้ากับความมุ่งมั่น จะพบว่าในความยากที่ชวนท้อถอยกลับมีเรื่องราวดีๆ ที่สร้างแรงบันดาลใจที่จับต้องได้กลายเป็นเรื่องเล่าดีๆที่น่าประทับใจ และน่าบอกต่อ

นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ บอกว่า ในระบบงานปกติเราไม่ได้มานั่งเล่าเรื่องกัน แต่พอได้ไปสร้างปาฏิหาริย์บางอย่างเกิดขึ้น ช่วยชีวิตคนหนึ่งคนไว้ พอให้เขาได้มีโอกาสได้เล่า มันกลับมาหล่อเลี้ยงเขา มันไม่ได้ทำให้งานเบาลง แต่ทำให้ มีความสุขมากขึ้นยิ่งเฉพาะกับการถ่ายทอดผ่านการเขียน ที่สร้างบรรยากาศคล้ายกับการได้หยุดและย้อนเวลาไปยังเรื่องเหล่านั้น ประหนึ่งพินิจพิเคราะห์ทุกรายละเอียดอย่างช้าๆเหมือนเรื่องของ วิไลรัตน์ ปิตุยะ พยาบาลโรงพยาบาลขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร หนึ่งในทีมแพทย์ที่ครั้งหนึ่งได้มีส่วนร่วมรักษาหญิงชราซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวาน และเกือบจะต้องตัดขาทิ้งจากบาดแผลฉกรรจ์อันดูเหมือนไม่มีวันจะรักษาได้สำเร็จเธอ สะท้อนเรื่องราวผ่านงานเขียนที่ชื่อ "ความฝัน วันวาร" ซึ่งถูกเผยแพร่ในการประชุม SHA Conference & Contest " เมื่อเร็วๆ นี้

"แทบทุกวัน จะมีเสียงร้องครวญคราง ให้ได้ยินเสมอ เราทุกคนจะรู้ดีว่านั่นคือช่วงเวลาที่คุณหมอทำแผลให้กับคุณยายพร หญิงชราร่างผอม ผิวคล้ำ ที่ตัดสินใจย้ายตัวเองจากโรงพยาบาลใหญ่ในจังหวัด มาที่โรงพยาบาลชุมชนที่พวกเราทำงานอยู่"เมื่อผลลัพธ์ของอาชีพรับจ้างทำนารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ดังนั้น เมื่อว่างจากการทำนาคุณยายพรจะเดินทางไปตามจังหวัดใกล้เคียงเพื่อรับจ้างทั่วไป ทำให้โรคประจำตัวอย่างเบาหวานได้รับการรักษาไม่ค่อยต่อเนื่องนัก ต้องเปลี่ยนโรงพยาบาลไปเรื่อยๆ ตามจังหวัดที่ได้ไปขายแรงงาน ส่วนแผลบริเวณขาขวาที่ไม่รู้ว่าไปถูกอะไร อยู่ดี ๆ ก็พุพองขึ้นมาบริเวณหลังเท้า และร้ายแรงขึ้นตามลำดับวิไลรัตน์ อธิบายว่า การทำแผลให้กับคุณยายท่านนี้ สร้างความกังวลให้กับทีมแพทย์เป็นอย่างมาก ทั้งเมื่อย ทั้งล้า ทำแต่ละครั้งกินเวลาไปเป็นชั่วโมง ร้ายกว่านั้นกลิ่นของแผลยังทำให้เพื่อนพยาบาล กระทั่งคุณหมอมากไปด้วยอาการผะอืดผะอม และสะสมความเครียดขึ้นเรื่อยๆ"ครั้งหนึ่งดิฉันเคยสงสัยว่า ทำไมคุณยายท่านนี้ถึงไม่ไปรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ที่มีอุปกรณ์หรือมีบุคลากรที่พร้อมกว่านะ เลยถามไปว่า ป้ารู้ไหมแผลป้าน่ะ กว้างมาก ยังต้องเลาะเนื้อตาย ขูดแผลเพิ่มขึ้นทุกวัน ป้าได้กลิ่นไหม"ใครจะคาดได้ว่ากับคำถามในวันนั้นได้เปลี่ยนวิธีคิดของพยาบาลคนนี้อย่างสิ้นเชิง ด้วยคำตอบของป้าพรหลังความเงียบคือการถอนหายใจบางเบา ก่อนจะปิดดวงตาลงช้า ๆ พร้อมกับเสียงสะอื้น "ป้าไม่อยากโดนตัดขา ความจริงที่มารักษาที่นี่ ไม่ใช่เพราะใกล้บ้านอย่างเดียวหรอกน่ะ แต่ป้าหนีจากโรงพยาบาลใหญ่มา เพราะหมอที่นั่นจะตัดขาป้าทิ้ง""ป้าไม่อยากเสียขาไป ป้าจะอดทนให้ถึงที่สุด อย่าส่งป้าไปตัดขาเลยนะ ถ้าไม่มีขาป้าจะทำอะไรกิน" วิไลรัตน์ทวนคำพูดติดหูและนั่นทำให้เธอเปลี่ยนวิธีคิดต่อวิชาชีพตนเอง ด้วยมองเห็นว่าแทนที่จะเป็นเทคโนโลยีทันสมัย กำลังใจและความเข้าใจชีวิตของมนุษย์ด้วยกันของคนทำงานสุขภาพต่างหากที่เป็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook