นายกฯ ยอมรับยังพาบ้านเมืองไม่พ้นวิกฤติขัดแย้ง

นายกฯ ยอมรับยังพาบ้านเมืองไม่พ้นวิกฤติขัดแย้ง

นายกฯ ยอมรับยังพาบ้านเมืองไม่พ้นวิกฤติขัดแย้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 นายกรัฐมนตรียอมรับยังนำพาบ้านเมืองผ่านความขัดแย้งไม่พ้น ขอความร่วมมือสื่อช่วยทำให้ผ่านพ้นความรุนแรง พร้อมรับฟังความเห็นข้อห่วงใยกฎหมายสื่อ ยันจะดันให้เป็นอิสระและมีงบประมาณสนับสนุน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

(14 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อม นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมรับประทานอาหารกับสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังความเห็นเพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ และสื่อสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ตามหลักวิชาชีพ โดยเฉพาะหลังการยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 


"นายกสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย บอกว่าเราผ่านพ้นวิกฤติมาด้วยกัน  ผมคิดว่าเราผ่านวิกฤติ  แต่เรายังไม่พ้น ดังนั้นจะต้องมาช่วยกันทำให้ผ่านพ้นไปจริง ๆ เพราะต้องยอมรับว่ายังมีความขัดแย้งความตึงเครียดที่ยังอยู่ในสังคม แต่เราต้องบริหารจัดการกันย่างไรไม่ให้นำไปสู่ความรุนแรง ถึงขั้นที่จะนำบ้านเมืองย้อนกลับไปสู่ความรุนแรงอีก" นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อห่วงใยในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ที่ผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว  แต่ยังมีปัญหาที่ต้องช่วยกันคิด และเรื่องที่จะสะท้อนไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อปรับปรุง โดยประเด็นแรก คือ ความพยายามจะมีองค์กรและสำนักงานที่เข้มแข็งขึ้น  จึงกำหนดให้เป็นสำนักงาน เป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ราชการและรัฐวิสาหกิจนั้น  คณะรัฐมนตรีเห็นว่าไม่น่าเหมาะสม เพราะหน่วยงานนี้ควรจะเป็นอิสระจากภาครัฐ  ปราศจากการแทรกแซง  จึงจะให้กฤษฎีกาไปปรับในรูปแบบคล้าย ๆ กับองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายรองรับ และพร้อมสนับสนุนงบประมาณ  แต่ต้องเขียนกฎหมายไม่ให้ขัดกับรัฐธรรมนูญที่รัฐต้องไม่อุดหนุนสื่อ แต่กรณีนี้เป็นการอุดหนุนองค์กรที่มาทำหน้าที่เป็นสื่อ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ค้างอยู่ในคณะกรรมการกฤษฎีกา คือ กองทุนสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้รายการที่มีคุณภาพเชิงสร้างสรรค์สามารถเผย แพร่ได้และมีโอกาสได้รับการสนับสนุนมากขึ้น  แต่มีประเด็นว่ากฤษฎีกาได้เพิ่มเรื่องการกำกับและควบคุม  ซึ่งตนเห็นว่าควรตัดส่วนนี้ออก เพราะไม่ต้องการให้กฎหมายส่งเสริมมาปนกับกฎหมายกำกับควบคุม และจะปรับปรุงกฎหมายข้อมูลข่าวสาร เพื่อช่วยการทำงานของสื่อ.- สำนักข่าวไทย

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook