ค้นหาข่าว  
  หน้าแรกข่าว > ต่างประเทศ(test)
  ลิดรอนเสรีภาพสื่อในรัสเซีย
โดย เดลินิวส์ วัน พุธ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 02:54 น.
ข่าวการสังหารโหด “แอนนา โปลิต คอฟสกายา” นักข่าวสาวใหญ่ชาวรัสเซียวัย 48 ปี ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากทั้งในรัสเซียและต่างประเทศ ในเรื่องของความพยายามอย่างเอา เป็นเอาตาย และการรายงานข่าวการทารุณกรรมพลเรือนโดยกองกำลังของรัสเซียและทหารเชช เนียอย่างชนิดกัดไม่ปล่อย รวมถึงการรายงานข่าวการคอร์รัปชันในกองทัพด้วย และยังเป็นผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย อย่างถึงพริกถึงขิง ได้เพิ่มความสะพรึงกลัวระหว่างกลุ่มเสรีนิยม ถึงแรงกดดันที่รุนแรงขึ้นต่อเสรี ภาพของสื่อมวลชนที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดในรัสเซีย

เจ้าหน้าที่สืบสวน สอบสวนยังคงตรวจสอบร่องรอยการยิงสังหารนักข่าว หัวเห็ดผู้นี้เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถูกพบเป็นศพอยู่ในลิฟต์ของอพาร์ต เมนต์ที่เธออาศัยอยู่กลาง กรุงมอสโก เพื่อนร่วมงานของเธอเชื่อว่า เธอตกเป็นเหยื่อถูกฆ่าจากกรณีที่เธอคัดค้านเจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียอย่างแข็งขันในประเด็นปัญหาที่อ่อนไหวหลายอย่าง จุดยืนในการรายงานข่าวของเธอนั้นอยู่ในทางตรงกันข้ามกับสื่ออื่น ๆ ส่วนใหญ่ในรัสเซีย ซึ่งเลือกที่จะเพิกเฉยต่อเรื่องการเมือง ตั้งแต่ประธานาธิบดีปูติน ขึ้นสู่อำนาจในปี 2543

สหภาพผู้สื่อข่าวมอสโกออกแถลง การณ์ฉบับหนึ่ง ระบุว่า การฆาตกรรมแอนนา โปลิตคอฟสกายา เป็นการโจมตีครั้งใหม่ต่อประชาธิปไตย, เสรีภาพการแสดงออกและการเปิดกว้างในรัสเซีย

การควบคุมสื่อมวลชนอย่างเข้มข้น ที่ครั้งหนึ่งเหตุการณ์อย่างนี้เคยเกิดขึ้นโดยรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งล่มสลายไปหลังจากปิดฉากยุคโซเวียต แต่ปูตินกลับมีแนวโน้มปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชนมากขึ้นมีการควบคุมสื่อมวลชนอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีโทรทัศน์สำคัญ

การผลักดันของเครมลินเพื่อทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบบริหารจัดการ” จุดชนวนให้ตะวันตกมีความวิตกกังวลว่า รัสเซียภายใต้การบริหารของปูตินกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการปกครองแบบใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ

โปลิตคอฟสกายา ซึ่งทำงานให้กับหนังสือพิมพ์แนวเสรีฉบับเล็ก ๆ ฉบับหนึ่งเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เป็นนักรบสื่อมวลชนที่ไม่ยอมประนีประนอม หรือยอมหักไม่ยอมงอ ซึ่งเธอจะอยู่ตรงข้ามกับสิ่งที่เธอเห็นว่าเป็นการปิดปากสื่อมวลชนและลิดรอนเสรีภาพส่วนบุคคลของทำเนียบเครม ลิน วลาดิมีร์ กูซินสกี้ ผู้บริหารสื่อคนสำคัญถูก บีบให้ต้องเดินทางออกนอกรัสเซีย และสถานีโทรทัศน์เอ็นทีวีของเขา ก็ตกไปอยู่ในมือของ แกซพรอม สื่อยักษ์ใหญ่ที่มีรัฐบาลดูแลอยู่ สื่อมวลชนจำนวนมากที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ทำเนียบเครมลิม ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของแกซพรอมหรือนักธุรกิจที่อยู่ฝ่ายรัฐบาล ซึ่งอนุญาตให้ใช้มาตรการตอบโต้รัฐบาลได้อย่างระมัดระวัง แต่ห้ามวิจารณ์ ปูติน, คนใกล้ชิดและนโยบายของเขาเป็นเด็ดขาด

เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน เจ้าของหนังสือพิมพ์ชั้นนำ คอมเมอร์แซนต์ นายอลิเชอร์ ยูสมานอฟ ได้ปลดบรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์ หลังจากเขาอนุญาตให้ตีพิมพ์บทความลงชื่อลูกของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล ว่าได้งานในตำแหน่งสูงในหลายบริษัทที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาล การใช้ชีวิตกลายเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้นสำหรับผู้สื่อข่าวรัสเซีย หลังจากกบฏเชชเนียบุกจู่โจมโรงละครในกรุงมอสโกในปี 2545 และบุกจับตัวประกันในโรงเรียนเมืองเบสลัน ทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 450 ศพ

ในปัจจุบันนี้ สื่อมวลชนที่เป็นอิสระ ในการเสนอข่าวในรัสเซีย เหลืออยู่เพียงน้อยนิด ล้วนแต่เป็นสื่อเล็กที่แทบจะไม่มีอิทธิพล คาดว่าจะมีสถานีโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้นที่จะตกอยู่ ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2551 ซึ่งจะมีคู่แข่งของเครม ลินมาลงชิงชัยเพื่อสืบทอดตำแหน่งต่อจากปูติน แต่ปูติน ซึ่งมีกำหนดสละตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2551 กล่าวว่า เขาไม่สามารถ และไม่ ต้องการลิดรอนเสรีภาพของสื่อ และเขาก็ไม่ สามารถทำให้สื่อทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุม ของรัฐได้.
เลนซ์ซูม
 
อ่านข่าวทั้งหมดของ เดลินิวส์ ได้ที่นี่
 
 
แผ่นดินไหว
ผมพิสดาร
ขจัดจน-กู้-เป็นหนี้
แมวแสนซนทำไฟไหม้บ้านหมาแสนรู้ช่วยชีวิตนายพิการ
อิเหนาขานรับร่วมคณะมนตรีฯ ยูเอ็น
ส่งบินรบทิ้งระเบิดกบฏทมิฬ ศรีลังกายันเดินหน้าเจรจาสันติภาพต่อ
ย่อโลก
อังกฤษถอนทหารออกจากภาคใต้ของอัฟกานิสถาน
แบลร์ ชี้ทหารอังกฤษไม่ควรอยู่ในอิรักนานเกินไป
เกาหลีใต้ย้ำมติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งเรื่องอาวุธ