ค้นหาข่าว  
  หน้าแรกข่าว > สังคม(test)
  สมองเสื่อม
โดย มติชน วัน พุธ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 02:09 น.
คอลัมน์ ส่องโรคไขสุขภาพ


พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ระบุผลการวิจัยโรคสมองเสื่อมว่าพบได้ในคนทุกวัย แต่พบบ่อยขึ้นในคนสูงอายุ โดยในประเทศทางตะวันตกพบว่า สมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุมีประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ในคนอายุ 65 ปี และพบบ่อยขึ้นเป็น 2 เท่าทุก 5 ปีที่อายุมากขึ้น ในที่สุดถ้าดูในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 85 ปีขึ้นไปทุก 3 คน จะพบผู้ป่วยสมองเสื่อม 1 คน
จากรายงานของกลุ่มทำงานด้านสมองเสื่อม ในเขตภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกที่รวบรวมรายงานจากประเทศต่างๆ และสรุปความชุกของภาวะสมองเสื่อมในปี พ.ศ.2548 มีผู้ป่วยสมองเสื่อมในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกถึง 13.7 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 64.6 ล้านคนในปี พ.ศ.2593
สำหรับประเทศไทยความชุกของภาวะสมองเสื่อมในปี 2548 มีตัวเลขอยู่ที่ 229,100 คน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 450,200 คนในอีก 20 ปีข้างหน้า สำหรับปี พ.ศ.2593 หรืออีกเพียง 50 ปีประเทศไทยจะมีผู้ป่วยมากกว่า 1 ล้านคน
ในคนที่เป็นโรคที่ทำให้สมองเสื่อม จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองช้าๆ เมื่อสมองเสียหายมาก จะลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น รวมทั้งบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าซ้ำๆ หรือไม่ยอมใส่เสื้อผ้า ปัสสาวะได้ทุกที่ทั้งในบ้านของตนเอง และสถานที่สาธารณะ อารมณ์ฉุนเฉียว กราดเกรี้ยว อาจพูดจาหยาบคาย
สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นทั้งที่สภาพร่างกายภายนอกยังดูเหมือนปกติ เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว สมองจะเสื่อมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโรคส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อมนี้ ส่วนใหญ่มักจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาจมีแต่จะทรุดลงทุกที จนในที่สุดผู้ป่วยจะจำไม่ได้แม้แต่คนใกล้ชิด และตนเอง
สมองเสื่อมเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง แต่โรคที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมบ่อยที่สุด 2 ลำดับแรก คือ โรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนโรคอื่นๆ พบได้ไม่บ่อยนักทั้งอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน การรักษาจึงเป็นเพียงการชะลออาการเท่านั้น ในที่สุดผู้ป่วยจะเสียความสามารถที่เคยทำได้ทั้งหมด กลับไปเหมือนเด็กๆ ที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือทุกอย่างทั้งการกินอาหาร ความสะอาดของร่างกาย การขับถ่าย เป็นต้น
การดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมต้องรับประทานอาหารอย่างเพียงพอให้ครบ 5 หมู่ ผู้ป่วยควรได้สารอาหารที่ช่วยการทำงานของสมอง เช่น ถั่วเหลือง น้ำมันปลา ผักต่างๆ และเนื้อสัตว์ เพื่อให้ได้สารโฟลิค แอซิด และวิตามินบี 12 ออกกำลังกาย ระวังไม่ให้เป็นหวัดเพราะจะทำให้อาการทางสมองทรุดลง ฯลฯ

หน้า 10
 
อ่านข่าวทั้งหมดของ มติชน ได้ที่นี่
 
 
วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2549
วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2549
กินเจล้างใจ
คอลัมน์ จีน่า หยิกแกมหยอก
คอลัมน์ ปรากฏการณ์ข่าว
หนุ่มอังกฤษเก่ง คิดทำเครื่องต้มไข่สำเร็จ
จิตอาสา ตัวอย่างวัยรุ่นน้ำดี
พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ ทรงฝึกจัดกิจกรรมประกอบการเรียน
คอลัมน์ ถามตอบครอบอาณากจักร
คอลัมน์ คมคำ